เพื่อน .

หน้า: (หน้าก่อน)  1 ...  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34 ...239   (ต่อไป)
โดย เพื่อน . - Friday, 16 February 2007, 10:59AM
 

รูปที่ 5 จากซ้ายมือเป็นลักษณะที่เรียกว่า เป็นข้อวัว คือ ข้อขาหลังชิดกัน และปลายเท้าเปิดออก อย่างนี้ถือว่าไม่ดีอย่างมาก เพราะมีการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมด้วย

ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะที่ มีการผิดปรกติของโครงสร้างกระดูกขาหลัง ในกรณีนี้ก็จะคล้ายกัน ในเรื่องที่ผมอธิบายในรูปที่ 4 เรื่องของ บั้นท้ายใหญ่ แต่กระดูกข้อขาล่างชิดกัน คือ ข้อขา..ล่าง..ชิดกัน ตั้งแต่..ข้อ..ลงมาถึงปลายเท้า และปลายเท้าไม่แยกออกจากกัน   แต่ ขา..ข้อวัว..นั้นจะชิดกันเฉพาะตรงข้อขาล่าง ปลายเท้าเปิดออกจากกัน

รูปที่ 6 จากซ้าย เป็นลักษณะที่เรียกว่า ขาโก่ง ซึ่งเป็นความผิดปรกติ ของโครงสร้างกระดูกขาหลัง อันนี้ง่ายครับ เห็นปุ๊บรู้ปั๊บ อันนี้จะไม่ค่อยได้เห็นบ่อย แต่เข้าใจง่าย ซึ่งถ้าเป็นคน ก็จะพบเห็นในคนแก่ๆ เดินขาโก่งๆ เพราะเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม นั่นแหละครับ

 


โดย เพื่อน . - Friday, 16 February 2007, 10:10AM
 

ดูรูปแล้วมีความเข้าใจอะไรบ้างหรือไม่? เข้าใจหรือไม่ว่ารูปเหล่านี้ต้องการที่จะสื่อให้รู้ เรื่องอะไรบ้างครับ

ดูรูปที่ 1 จากซ้ายมือ เป็นการเดิน หรือวิ่งอย่างช้าๆๆๆๆ ขาหลังจะอยู่ในแนวขนานกัน มีความห่างของช่องขาอยู่ในระยะที่พอดี ขาทั้งสองข้างไม่บิดเบี้ยว

ดูรูปที่ 2 จากซ้ายมือ เป็นการเคลื่อนที่เร็ว หรือเป็นการวิ่ง ขาหลังจะหุบเข้ามา ทำมุมเอียงทั้งสองข้าง เท่าๆกัน

ทั้งรูปที่ 1 และ 2 นั้น เป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง

เมื่อเราเห็นจากรูปที่ 1-2 ของทางด้านหน้า และด้านหลัง เราก็จะเข้าใจได้ว่า หากสุนัขตัวไหน? ที่มีการเคลื่อนไหวดังที่อธิบายมา เราก็สัญนิษฐานได้เลยว่า สุนัขตัวนั้น มีโครงสร้างที่ถูกต้อง มีมุมของกระดูกข้อต่อต่างๆดี เพราะการที่สุนัขสามารถเคลื่อนไหวได้ดี ก็จะมาจากการที่สุนัขตัวนั้นมีโครงสร้างที่ดี

หมายเหตุ แต่ก็มีสุนัขบางตัว ที่มีลักษณะที่โครงสร้างไม่ดี แต่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ดี เขาเรียกว่า เป็นข้อบกพร่องที่สมดุลย์ เดี่ยวจะเอามาเล่าให้ฟังอีกครั้งครับ


โดย เพื่อน . - Friday, 16 February 2007, 09:31AM
 

หวัดดี...ท่านเกาฯ.....

เรื่องการเคลื่อนไหวของม้า...และของสุนัข...นั้น จะแตกต่างกันครับ

การเคลื่อนไหวของม้านั้น จะเป็นการยกขาขึ้นมา แล้วหักข้อขาหน้า แล้วก็กดขาหน้าลงมา แล้วสลับขาอีกข้างขึ้นไป เหมือนการ โขกขาขึ้นลงแบบหักข้อ

การเคลื่อนไหวของสุนัขนั้น จะเป็นการยกขาหน้า ขึ้นมาตรง เต๊ะขาหน้าขึ้นไปตรง และเหยียดขาหน้าตรง วิ่งในลักษณะที่กินพื้นที่มากๆ อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า วิ่งแบบสุนัข

ต้องขออภัย ที่ผมไม่อาจที่จะหาภาษา เขียนได้ดีกว่านี้ครับ บอกได้แต่เพียงว่า ถ้า...สุนัข...วิ่งอย่าง...ม้า...นั้น เป็นการวิ่งที่...ผิด ถ้าเอามาใช้ประกวด จะไม่ประสบความสำเร็จครับ

เรื่องการเคลื่อนไหวนี้ เดี่ยวจะมาพูดถึงอีกครั้งหนึ่ง 



โดย เพื่อน . - Friday, 16 February 2007, 12:40AM
 

ต้องขออภัย คุณซันไม ครับ ขอเสริมกระทู้ครับ

ถ้าเป็นลูกสุนัขแรกเกิด เริ่มถ่ายพาธิ์ได้ ตั้งแต่ลูกสุนัขมีอายุ 15-20 วันครับ มาถ่ายพาธิ์ อีกครั้ง ก็คือประมาณ 60 วันครับ การถ่ายพาธิ์นั้นหากถ่านแล้วพบตัวพยาธิ์ ต้องถ่าย 2-3 ครั้งติดต่อกัน ในกรณีนี้เป็นการถ่ายพาธิ์ เส้นได้ ปากขอ ฯลฯ

ยกเว้นการถ่ายพยาธิ์ตัวตืด ต้องทำตอนที่ลูกสุนัขมีอายุอย่างน้อย 4 เดือนครับ และอย่าถ่ายบ่อย ประมาณ 6 เดือนถึงหนึ่งปี ต่อครั้ง เพราะถ้าถ่ายบ่อยจะทำให้ลำใส้บางครับ เน้นว่า เฉพาะ พยาธิ์ตัวตืดนะครับ ยาถ่ายพยาธิ์เป็นคนละตัวกันนะครับ หรือบางยี่ห้อเป็นตัวเดียวกัน แต่ความเข้มข้นของยาต่างกันมากครับ ใช้ยาถ่ายพยาธิ์ของคนนี่แหละครับ สบายมาก อย่าห่วง ได้ผลเหมือนกันเลย หุหุ

พยาธิ์ อื่นๆ สามารถ่ายได้บ่อยๆครับ 1-2 เดือน/ครั้งก็ได้สบายมากครับ


โดย เพื่อน . - Friday, 16 February 2007, 12:25AM
 
ดูรูปไปก่อน นะครับ ลองศึกษาทำความเข้าดูซิครับ รูปนี้เป็นรูปที่ ผู้จูงต้องจูงสุนัขออกจากกรรมการ ท่านว่ากรรมการต้องการดูอะไร พรุ่งนี้กระผม นายเพื่อนบางแก้วจะมาหลาว ต่อครับ ดอนนี้ก็ เที่ยงคืนกว่าแล้วหนาพี่น้อง...เอ้ย.....

หน้า: (หน้าก่อน)  1 ...  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34 ...239   (ต่อไป)