ถ้าอีกหน่อย มีการโคลนนิ่งสุนัขบางแก้วออกมาขาย จะยังมีคนรักบางแก้วกันอยู่อีกหรือเปล่าน๊า.....
โดย Pingpong \(-_-)/ - Thursday, 4 August 2005, 03:30PM
 

อ่านข่าว CNN วันนี้ว่า  เกาหลีประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งสุนัข
Snuppy, the first cloned dog, appears with the 3-year old male Afghan hound whose cells were used to clone him.

vert.cloned.dog.ap.jpg

เลยต้องย้อนมาดูบ้านเราว่า ถ้าอีกหน่อย  มีการโคลนนิ่งสุนัขบางแก้วออกมาขาย  เอาแบบหล่อๆ  ใจดีๆ  แบบ ฟ้าใหม่ หรือ  ปีใหม่
วงการบางแก้วบ้านเราจะเป็นอย่างไรน๊า....   
จะยังมีคนรักบางแก้วกันอยู่อีกหรือเปล่าน๊า.....
ลองช่วยกันจินตนาการหน่อยคับ
 


DENVER, Colorado (AP) -- Scientists for the first time have cloned a dog. But don't count on a better world populated by identical, well-behaved canines just yet.

That's because the dog duplicated by South Korea's cloning pioneer, Hwang Woo-suk, is an Afghan hound, a resplendent supermodel in a world of mutts, but ranked by dog trainers as the least companionable and most indifferent among the hundreds of canine breeds.

The experiment extends the remarkable string of laboratory successes by Hwang, but also re-ignites a fierce ethical and scientific debate about the rapidly advancing technology.

Last year, Hwang's team created the world's first cloned human embryos. In May, they created the first embryonic stem cells that genetically match injured or sick patients.

Researchers nicknamed their cloned pal Snuppy, which is shorthand for "Seoul National University puppy." One of the dog's co-creators, Gerald Schatten of the University of Pittsburgh School of Medicine, describes their creation, now 14 weeks old, as "a frisky, healthy, normal, rambunctious puppy."

Researchers congratulated the Korean team on improving techniques that might someday be medically useful. Others, including the cloner of Dolly the sheep, renewed their demand for a worldwide ban on human reproductive cloning.

"Successful cloning of an increasing number of species confirms the general impression that it would be possible to clone any mammalian species, including humans," said Ian Wilmut, a reproductive biologist at the University of Edinburgh, who produced Dolly nearly a decade ago.

Since then, researchers have cloned cats, goats, cows, mice, pigs, rabbits, horses, deer, mules and gaur, a large wild ox of Southeast Asia. Uncertainties about the health and life span of cloned animals persist; Dolly died prematurely in 2003 after developing cancer and arthritis.

"The ability to use the underlying technology in developing research models and eventually therapies is incredibly promising," said Robert Schenken, president of the American Society for Reproductive Medicine. "However, the paper also points out that in dogs as in most species, cloning for reproductive purposes is unsafe."

The experiment's outcome only seems to buoy the commercial pet-cloning industry, which has charged up to $50,000 (euro41,000) per animal. The first cloned-to-order pet sold in the United States was a 9-week-old kitten produced by the biotech firm, Genetic Savings & Clone Inc. of Sausalito, California.

Company officials said they expect to commercially clone a dog within a year using eggs collected from spaying procedures at veterinary clinics. The South Korean researchers can surgically remove eggs from research animals with fewer regulations than in the United States.

"This justifies our investment in the field," said spokesman Ben Carlson. "We've long suspected that if anyone beat us to this milestone, it would be Dr. Hwang's team -- due partly to their scientific prowess, and partly to the greater availability of canine surrogates and ova in South Korea."

But the dog cloning team tried to distance its work from commercial cloning. "This is to advance stem cell science and medicine, not to make dogs by this unnatural method," Schatten said.

On scientific terms, the experiment's success was mixed. More than 1,000 cloned embryos were implanted into surrogate mothers and just three pregnancies resulted. That's a cloning efficiency rate lower than experiments with cloned cats and horses. Details appear in Thursday's issue of the journal Nature.

Like Dolly and other predecessors, Snuppy was created using a method called somatic cell nuclear transfer, or SCNT.

Scientists transfer genetic material from the nucleus of a donor adult cell to an egg whose nucleus -- with its genetic material -- has been removed. The reconstructed egg holding the DNA from the donor cell is treated with chemicals or electric current to stimulate cell division.

Once the cloned embryo reaches a suitable stage, it is transferred to the uterus of a surrogate where it continues to develop until birth.

Dog eggs are problematic because they are released from the ovary earlier than in other mammals. This time, the researchers waited and collected more mature unfertilized eggs from the donors' fallopian tubes.

They used DNA from skin cells taken from the ear of a 3-year-old male Afghan hound to replace the nucleus of the eggs. Of the three pregnancies that resulted, there was one miscarried fetus and one puppy that died of pneumonia 22 days after birth.

That left Snuppy as the sole survivor. He was delivered by Caesarean section from his surrogate mother, a yellow Labrador retriever.

Researchers determined that both of the puppies that initially survived were genetically identical to the donor dog.

Schatten said the Afghan hound's genetic profile is relatively pure and easy to distinguish compared to dogs with more muddled backgrounds. But dog experts said the researchers' choice of breed choice was disquieting.

"The Afghan hound is not a particularly intelligent dog, but it is beautiful," said psychologist Stanley Coren, author of the best-selling manual "The Intelligence of Dogs." He ranked the Afghan hound last among 119 breeds in temperament and trainability.

"Many people who opt for the cloning technique are more interested in fashionable looks," he said. "Whenever we breed dogs for looks and ignore behavior, we have suffered."

http://www.cnn.com/2005/TECH/science/08/03/dog.clone.ap/index.html

ตอบ: ถ้าอีกหน่อย มีการโคลนนิ่งสุนัขบางแก้วออกมาขาย จะยังมีคนรักบางแก้วกันอยู่อีกหรือเปล่าน๊า.....
โดย Pingpong \(-_-)/ - Thursday, 4 August 2005, 03:13PM
 

    ความคิดเห็นที่ 9

    สถาบันครอบครัวของสุนัขบางแก้วอย่างปีใหม่และลูกๆจะเป็นเช่นไร

     
     


    จากคุณ : vichien_b - [ 4 ส.ค. 48 15:07:28 ]
 
 

ขออนุญาตคุณคมกฤตนำรูปปีใหม่ไปประชาสัมพันธ์ที่พันทิปหน่อยนะครับ    จะเอารูปปิงปองไป  ก็มีแต่คนโห่ไล่ว่าขี้เหล่

http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J3647618/J3647618.html#9

ตอบ: ถ้าอีกหน่อย มีการโคลนนิ่งสุนัขบางแก้วออกมาขาย จะยังมีคนรักบางแก้วกันอยู่อีกหรือเปล่าน๊า.....
โดย Pingpong \(-_-)/ - Thursday, 4 August 2005, 03:25PM
 
ฮือฮา “หมาโคลนนิง” ตัวแรกของโลกดูภาพชุดจาก Manager Multimedia
โดย ผู้จัดการออนไลน์4 สิงหาคม 2548 05:07 น.

สนัปปี้ (กลาง) พร้อมครอบครัว ตัวพ่อคืออาฟกัน ฮาวนด์ (ซ้าย) ผู้ให้เซลล์บริเวณหูไปเพาะเป็นสเต็มเซลล์ ส่วนตัวแม่คือลาบาดอร์ รีทรีฟเวอร์ (ขวา) รับอุ้มบุญ หมาโคลนนิงตัวแรกของโลก

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
สนัปปี้ขณะวิ่งเล่นโชว์ตัวในงานแถลงข่าว บริเวณมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล

ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ศ.หวางอยู่ตรงกลาง และ ดร.ชาตเท็น ด้านขวาสุด พร้อมด้วยสัตว์ทดลองของทีมงาน

ศ.หวางโพสต์ท่ากับสนัปปี้

       เนเจอร์/เอเอฟพี/รอยเตอร์ – “หวาง วู-ซก” ทำแฮตทริกสร้างผลงานอันน่าตื่นเต้นปรากฏสู่สายตาชาวโลกเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี โชว์ “สนัปปี้” สุนัขโคลนนิงตัวแรกของโลกสู่สาธารณะ หลังจากเพิ่งเปิดเผยไปหมาดๆ ว่าเขาและนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ พร้อมด้วยเจ้าของแกะดอลลีกำลังซุ่มสร้างผลงานครั้งสำคัญ โดยหวังจะใช้การโคลนนิงสุนัขเป็นตัวอย่างหาผลดีผลเสียก่อนการโคลนนิงมนุษย์
       
       
ทีมนักวิทยาศาสตร์เกาหลีใต้ได้ประกาศวานนี้ (3 ส.ค.) ว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการโคลนนิงสุนัขตัวแรกของโลก ซึ่งทำสำเนาเลียนแบบสุนัขอาฟกัน ฮาวนด์ (Afghan Hound) เพศผู้วัย 3 ปี โดยการโคลนนิงครั้งนี้ใช้เทคนิควิธีเดียวกับ “แกะดอลลี” เจ้าสุนัขลอกแบบที่ทีมนักวิจัยเกาหลีนำมาโชว์นี้มีนามว่า “สนัปปี้” (Snuppy) อันย่อมาจาก “Seoul National University puppy” หรือ ลูกหมาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
       
       ”สนัปปี้” เกิดเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ถูกเก็บซ่อนหลบสายตาชาวโลกอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) ในเกาหลีใต้เป็นเวลากว่า 9 สัปดาห์ เจ้าหมาตัวนี้แม้ว่าจะกำเนิดออกจากท้องของลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ สีเหลือง แต่เจ้าสนัปปี้กลับมีขนสีดำ แทนและขาว และลักษณะทางดีเอ็นเอเหมือนกับเจ้าอาฟกัน ฮาวนด์ ซึ่งเป็นเจ้าของเซลล์ต้นกำเนิด (สเต็มเซลล์) จากบริเวณหู และนำตัวอ่อนกว่า 1,095 ตัวที่นำไปเพาะในสุนัข 123 ตัวเพื่อให้สุนัขเพศเมียเหล่านี้สร้างลูกสุนัขสุขภาพดีขึ้นมา
       
       อย่างไรก็ดี มีตัวอ่อนแค่เพียง 3 ตัวที่เจริญเติบโตติดมดลูกของสุนัขตัวเมีย แต่ขณะคลอดก็เหลือรอดออกมาเพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น นับว่ามีอัตราความสำเร็จ 1.6% ซึ่งนอกจากสนัปปี้ที่มีน้ำหนักแรกเกิด 530 กรัม แล้วยังมีลูกหมาอีกตัวชื่อ “เอ็นที-2” (NT-2) ด้วยน้ำหนักแรกเกิด 550 กรัม แต่ก็ตายลงด้วยโรคปอดอักเสบด้วยอายุแค่ 22 วัน อีกทั้งผลการตรวจสอบหลังการตายพบก็ไม่พบปัญหาทางกายวิภาคอันนำไปสู่การตายของของ NT-2
       
       หลังจาก “แกะดอลลี” ปรากฏกายสู่สายตาชาวโลก เมื่อเดือน มิ.ย. 2539 นั่นก็เกือบทศวรรษมาแล้ว แต่ความก้าวหน้าในวงการโคลนนิงดูเหมือนว่าจะขยับไปได้ไม่ไกลอย่างที่คิดไว้ในตอนแรก ซึ่งแม้แต่ดอลลีเองก็จบชีวิตลงในเดือน ก.พ.2546 หลังจากเจ็บป่วยด้วยโรคข้ออักเสบจากการแก่ก่อนวัยและอาการไตถดถอย เพราะการโคลนนิงสัตว์ขึ้นมานั้นทำให้เป็นจริงได้ยาก และทุกๆ สายพันธุ์ที่แสดงออกต่างก็มีปัญหาต่างๆ กันไป แม้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะดูเหมือนถูกต้อง แต่ตัวอ่อนที่ได้รับการโคลนส่วนใหญ่กลับใช้ไม่ได้ เพราะยีนแสดงผลไปในทางผิดปกติ ซึ่งแกะ หนู วัว แพะ หมู กระต่าย แมว ลา และม้าก็เคยถูกโคลนนิงด้วยวิธีนี้
       
       สำหรับสุนัขแล้ว ความท้าทายสำคัญคือการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากไข่ที่ใช้ได้ สุนัขเป็นสัตว์ที่ต้องใช้เทคนิคเคล็ดลับมากเป็นพิเศษในการโคลน เพราะไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่นั้นเก็บเกี่ยวออกมาใช้ได้ยาก ต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่นๆ โดยไข่ของสุนัขจะตกตั้งแต่ยังไม่สุก แล้วเข้าสู่ช่องพิเศษเพื่อพัฒนาให้ไข่สุกอีก 2-3 วัน
       
       ทั้งนี้ ทีมงานได้ได้พยายามเก็บไข่สุนัขที่ไหลออกจากรังไข่และเติบโตขึ้นเดินทางสู่มดลูกและท่อรังไข่ ซึ่งการเก็บไข่ที่จุดตกไข่และพยายามเพาะให้เจริญขึ้นในหลอดทดลองนั้นล้มเหลว ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงได้ดึงไข่ออกมาตั้งแต่อยู่ในท่อรังไข่ด้วยสารละลายที่พัฒนาขึ้นมาเอง จากนั้นนิวเคลียสหรือบริเวณใจกลางของไข่เหล่านั้นก็ถูกแยก และแทนที่ด้วยนิวเคลียสของเซลล์จากหู เซลล์ที่หลอมเข้ากันได้ด้วยดีก็จะถูกนำไปปลูกถ่ายในสุนัขเพศเมีย
       
       การทดลองที่ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งครั้งนี้เป็นผลงานจากทีมงานของ “ศ.หวาง วู-ซก” (Woo Suk Hwang) นักวิจัยทางด้านโคลนนิง-สเต็มเซลล์ชื่อดังชาวเกาหลี โดยก่อนหน้านี้เขาได้สร้างผลงานอันสำคัญยิ่งต่อวงการ คือการสร้างตัวอ่อนมนุษย์จากการโคลนนิง และเพาะพันธุ์สเต็มเซลล์ในร่างกายมนุษย์ได้ ส่วนผลงานการโคลนนิงสุนัขครั้งนี้เขาได้ตีพิมพ์ผลงานลงวารสาร “เนเจอร์” ฉบับล่าสุด
       
       ดร.หวางพร้อมทีมงาน 15 คนใช้เวลา 2 ปีครึ่งสร้าง “สนัปปี้” ขึ้นมาจนสำเร็จ
       
       
“เขาน่ารักมาก ถ้าคุณมาที่นี่และพบเขา คุณจะต้องหลงรักเขาเป็นอย่างแน่แท้” ดร.หวางกล่าว พร้อมทั้งเพิ่มเติมว่าสนัปปี้ช่างเหมือนกับหมาเจ้าของเซลล์ ซึ่งตรงจุดนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดลักษณะของทั้ง 2 ตัวถึงได้คล้ายกัน ซึ่งหมาเจ้าของเซลล์ที่นำมาเป็นเซลล์ต้นกำเนิดนั้นเป็นของศาสตราจารย์ทางด้านสัตวแพทย์ของมหาวิทยาลัย และที่ ศ.หวางเลือกเซลล์ของอาฟกัน ฮาวนด์ มาใช้ก็เพราะขนาดและลักษณะที่โดดเด่น แต่ก็ย้ำว่า “จุดประสงค์ของการวิจัยก็เพื่อสร้างสัตว์ทดลอง ไม่ใช่สัตว์เลี้ยง”
       
       “แต่ลูกหมาตัวนี้เป็นของมวลมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่ของผม หรือของหมาเจ้าของเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิด” ศ.หวางกล่าว และเปิดเผยว่าที่นำสนัปปีออกมาเปิดเผยนั้น เพราะต้องการสร้างโมเดลในการโคลนนิง เพื่อเป็นตัวอย่างสู่การรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์
       
       ทางด้าน ดร.เจอราด ชาตเท็น (Gerald Schatten) จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก (University of Pittsburgh) ซึ่งร่วมการศึกษาครั้งนี้ เปิดเผยว่า การโคลนนิงสุนัขอาจช่วยนักวิทยาศาสตร์ให้ศึกษาโรคร้ายที่มีผลกระทบต่อบรรดาสุนัข เช่นเดียวกับบางโรคในมนุษย์ อย่างเช่น มะเร็งและเบาหวาน ซึ่งเทคนิคการใช้สเต็มเซลล์เพื่อการอายุรแพทย์นั้นควรจะต้องทดสอบในสุนัขก่อน จึงจะสามารถนำไปพัฒนาใช้ต่อในมนุษย์ได้
       
       “การศึกษาถึงความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพของเทคนิคนี้จากเพื่อนสัตว์เลี้ยงของพวกเราเอง อาจทำให้เรารู้ว่ามันจะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแค่ไหนหากนำไปใช้กับคนที่เรารัก” ดร.ชาตเท็นกล่าว และเชื่อว่าความสามารถในการโคลนนิงสุนัขครั้งนี้จะช่วยให้การพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมและสิ่งสนับสนุนทางพันธุกรรม อันนำไปสู่ลักษณะนิสัยของสายพันธุ์ผสม และอนุรักษสายพันธุ์หายาก
       
       อย่างไรก็ดี มาร์ก เวสธูซิน (Mark Westhusin) นักชีววิทยาเจริญพันธุ์ แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็ม (Texas A&M University) ซึ่งโด่งดังมาจากการโคลนนิงแมวตัวแรกของโลก ก็เคยพยายามโคลนสุนัข โดยใช้เวลากว่า 3 ปี แต่ก็มีอันต้องล้มเลิกโครงการ โดยเจ้าของผลงานแมวโคลนนิงกล่าวถึงความสำเร็จของนักวิจัยเกาหลีใต้ครั้งนี้ว่ายอดเยี่ยมนัก แต่สุนัขโคลนนิงอาจจะคุ้มค่าอะไรเลย
       

       “มันช่วยเพิ่มเติมความฝันร้ายที่ไปทำงานกับสิ่งมีชีวิตพวกนี้ พวกเรารู้และคาดการณ์ได้ว่ามันก็จะทำได้ในอีกไม่กี่ปี แต่จะต้องอุทิศเวลา เงินและความมานะพยายามไปมากแค่ไหนเพื่อให้ผลงานชิ้นนี้สำเร็จขึ้นมา” เวสธูซินเผย พร้อมกับแจงว่าเขาต้องการเห็นผลงานที่ใช้กรรมวิธีที่ง่ายขึ้นกว่านี้ อย่างเช่น การพัฒนาฮอร์โมนเข้าไปทำให้สุนัขตกไข่ หรือวิธีในการเพาะไข่ในหลอดทดลองมากกว่า
       
       ทางด้าน เฟรดา สกอต-พาร์ก (Freda Scott-Park) ประธานสมาคมสัตวแพทย์อังกฤษ (British Veterinary Association) ได้เตือนว่าการทดลองครั้งนี้อาจนำไปสู่คำถามถึงจริยธรรมที่นักวิทยาศาสตร์ควรมี โดยเทคนิคที่พัฒนาขึ้นแม้ว่าจะทำให้เข้าใจโรคและสามารถรักษาโรคร้ายต่างๆ ได้ แต่การโคลนนิงสัตว์ทำให้เกิดคำถามด้านจริยธรรมและศีลธรรมขึ้นมามากมาย ซึ่งจะต้องนำไปถกเถียงในวงวิชาชีพต่อไป
       
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9480000104281
ตอบ: ถ้าอีกหน่อย มีการโคลนนิ่งสุนัขบางแก้วออกมาขาย จะยังมีคนรักบางแก้วกันอยู่อีกหรือเปล่าน๊า.....
โดย โมจิตัวแสบ มากสุวรรณ์ - Thursday, 4 August 2005, 05:41PM
 

อืมๆๆ....ป๋มคิดว่าคงจาไม่ดีหรอกนะงับป๋ม   เพราะ  เราคงอยากให้เจ้าหมาน้อยสุดที่รักของเรามีตัวเดียว  เปงของเราเท่านั้นคงมั้ยอยากหั้ยครัยมีเหมือน.....แต่ท่าเจ้าตูบน้อยของเราตายไปเราคงอยากจาโคลนนิ้งมันกลับมาเหมือนกันล่ะนะงับ....คงจาดีไปอีกแบบ..เท่

ตอบ: ถ้าอีกหน่อย มีการโคลนนิ่งสุนัขบางแก้วออกมาขาย จะยังมีคนรักบางแก้วกันอยู่อีกหรือเปล่าน๊า.....
 

คงอีกนานครับ เพราะว่ายังไม่สมบูรณ์ดี ยังมีอะไรต้องศึกษาอีกแยะ แล้วก็ราคาแพงมากด้วยนะ

เป็นการเลียนแบบที่ยังไงก็ไม่เทียบเท่าตามธรรมชาตินะครับ คงเหมือน GMO ต่างๆ ซึ่งก็ยังไม่มีการพิสูจน์
ว่าไม่ดียังไง แต่ก็ยังไม่ค่อยยอมรับกัน

อีกอย่างเดี๋ยวบางแก้วทุกตัวเหมือนกันหมด ก็คงวุ่นนะ

Click to enter http://www.bangkaew.com/elearning3

Bangkaew.net and Bangkaew.org are for sale
See details at https://sedo.com/search/?keyword=bangkaew