ผมไม่มีเวลาไปค้นหาคำศัพท์ที่คุณถามเป็นภาษาอัง กฤษหรอกถามเป็นภาษาไทยได้ใหมผมอยากตอบอยู่แล้วเอาเป็นว่าผมจะตอบเท่าที่พอเข้าใจ อ้อแล้วการตั้งคำถามผมอยากให้สามารถเข้าใจได้ทั่วไป เพราะศัพท์ทางพันธุกรรมไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจ การเหนี่ยวนำ ผมเข้าใจว่าเป็นการพยายามทำให้สุนัขเป็นสัดมากกว่า 1 ครั้งมีผลดีอย่างไรต่อผู้เลี้ยง ปกติสุนัขไทยบางแก้วจะเป็นสัดปีละ 1 ครั้ง แต่ปรากฏมีสุนัขบางสาย เช่น แม่โตโต้ พ่อของ อาราชิ แห่งคอกวังงามไทยบรีด ปัจจุบัน ผมจำชื่อไม่ได้ เป็นสัดปีละ 2 ครั้ง และตกลูกออกมาเป็นเพศเมีย ก็จะตกลูกปีละ 2 คอกเหมือนกัน ในขณะนั้นเราวิพาทกันว่าน่าจะเกิดเป็นบางสายพันธุ์ แต่มาระยะหลังเริ่มเป็นกันมากหลายคอก ก็เริ่มสงสัยว่าน่าเกิดจาก อาหาร และการเลี้ยงดู และเหตุผลข้อหลังนี้น่าเชื่อถือมาก โดยเฉพาะผมเริ่มพบด้วยตนเองยิ่งเชื่อว่า สุนัขที่เป็นสัดมากกว่าเดิมเกิดจากอาหารและการเลี้ยงดู เพราะจริงแล้วสุนัขต่างประเทศ จะเป็นสัด 2 ครั้ง หรือในพันธุ์เล็ก เช่น คอกเกอร์ พุดเดิ้น จะเป็น 2 ปี 5 คอก ส่วนบางแก้วเมื่อสุนัขเป็นสัด 2 ครั้ง จะมีข้อดี 2 ประการคือ ด้านโภชนาการ ทำให้ลูกสุนัขสมบูรณ์ขึ้นเพราะการตกลูก 2 ครั้งต่อปี จำนวนสุนัขในแต่ละคอกจะลดลง จากปีละคอก ตกลูก 11 ตัว แต่มาเป็น ปีละ 2 คอกตกลูก 4-5 ตัว ด้านการตลาด ทำให้สุนัขมีราคาแพงขึ้นกว่าเดิมเพราะ 1 ความสมบรณ์ของลูกสุนัข 2 การแข่งขันมีน้อย เนื่องจากสุนัขบางแก้วที่ตกลูก ปีละ 1 คอก จะตกพร้อมกันช่วงเดือน พฤศจิกายน - มกราคม เหมือนผลไม้ เช่น มะม่วงเมื่อออกพร้อมกันราคาก็ตก |