ชีวิตพิศวงของแมลงหิมะ : แมลง 5 ชีวิต
โดย Pingpong \(-_-)/ - Monday, 11 July 2005, 05:04PM
 
Contribute  :  Web Resources  :  Past Polls  :  Calendar  :  Advanced Search  :  Site Statistics  
    Yukimushi Community SiteThe wonderful and mysterious creature of life after life to create new life    
 Welcome to Yukimushi Community Site
 Monday, July 11 2005 @ 04:09 PM ICT

ชีวิตพิศวงของแมลงหิมะ : แมลง 5 ชีวิต

 Email Article To a Friend View Printable Version 

Yukimushiตอนที่ผู้เขียนได้ยินคำว่า “ แมว 9 ชีวิต “ ยังนึกสงสัยว่าแมวมี 9 ชีวิตได้อย่างไร มารู้ทีหลังว่าเป็นการเปรียบเปรยความทรหดของแมวที่ไม่ยอมตายง่ายๆ แม้จะหกคะเมนตีลังกาตกลงมาจากที่สูงเพียงใดก็ตาม แต่พอผู้เขียนได้มาเห็นสารคดีเกี่ยวกับแมลงหิมะของสถานีโทรทัศน์ NHK ระหว่างที่ผู้เขียนศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น ผู้เขียนรู้สึกทึ่งในวงจรชีวิตของแมลงหิมะมาก แมลงโดยทั่วไปที่คนรู้จักมักจะมีวงจรชีวิตเดียว แม้ว่าจะเปลี่ยนสภาพจากตัวหนอนเป็นตัวอ่อน เป็นตัวดักแด้ แล้วจึงเป็นตัวเต็มวัยก็ตาม แต่วงจรชีวิตของแมลงหิมะจะมีหลายชีวิตเกิดแก่เจ็บตายอยู่ในนั้น ก่อนที่มันจะกลายเป็นแมลงหิมะที่มีปีกโบยบินพร้อมกับปุยนุ่นคล้ายหิมะในปลายฤดูใบไม่ร่วง ผู้เขียนไม่ใช่นักกีฏวิทยา แต่พยายามค้นหาคำตอบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ก็ไม่พบข้อเขียนใดๆที่เป็นภาษาไทย เพิ่งจะมีเวลาไปค้นข้อเขียนภาษาญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆนี้ จนพบคำตอบที่น่าสนใจ จึงอยากนำมาถ่ายทอดเล่าสู่กันฟัง


read more (329 words) 0 comments
Post a comment

Romance of yukimushi or snow insect

 Email Article To a Friend View Printable Version 

My storyI happened to see a documentary film about yukimushi on NHK TV when I was a student in Japan, I was surprised by its' life cycle which includes many generations to complete a wonderful cycle of life from spring to winter.
This website is dedicated for this small creature, yukimushi or snow insect who gave me impression and inspiration to live beautifully like a falling snow in winter waiting for a new life to come again in spring.
You are welcome to share the Romance of yukimushi.
Please give some comments or tell your story by registering as a member of this website.


1 comments
Most Recent Post: 04/04 05:18AM by Anonymous
จาก http://www.yukimushi.org
http://www.yukimushi.org/yukimushi/images/articles/20040101093000103_1.jpg
ตอบ: ชีวิตพิศวงของแมลงหิมะ : แมลง 5 ชีวิต
โดย Pingpong \(-_-)/ - Tuesday, 12 July 2005, 05:57AM
 

ชีวิตพิศวงของแมลงหิมะ : แมลง 5 ชีวิต

   

Yukimushiตอนที่ผู้เขียนได้ยินคำว่า “ แมว 9 ชีวิต “ ยังนึกสงสัยว่าแมวมี 9 ชีวิตได้อย่างไร มารู้ทีหลังว่าเป็นการเปรียบเปรยความทรหดของแมวที่ไม่ยอมตายง่ายๆ แม้จะหกคะเมนตีลังกาตกลงมาจากที่สูงเพียงใดก็ตาม แต่พอผู้เขียนได้มาเห็นสารคดีเกี่ยวกับแมลงหิมะของสถานีโทรทัศน์ NHK ระหว่างที่ผู้เขียนศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น ผู้เขียนรู้สึกทึ่งในวงจรชีวิตของแมลงหิมะมาก แมลงโดยทั่วไปที่คนรู้จักมักจะมีวงจรชีวิตเดียว แม้ว่าจะเปลี่ยนสภาพจากตัวหนอนเป็นตัวอ่อน เป็นตัวดักแด้ แล้วจึงเป็นตัวเต็มวัยก็ตาม แต่วงจรชีวิตของแมลงหิมะจะมีหลายชีวิตเกิดแก่เจ็บตายอยู่ในนั้น ก่อนที่มันจะกลายเป็นแมลงหิมะที่มีปีกโบยบินพร้อมกับปุยนุ่นคล้ายหิมะในปลายฤดูใบไม่ร่วง ผู้เขียนไม่ใช่นักกีฏวิทยา แต่พยายามค้นหาคำตอบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ก็ไม่พบข้อเขียนใดๆที่เป็นภาษาไทย เพิ่งจะมีเวลาไปค้นข้อเขียนภาษาญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆนี้ จนพบคำตอบที่น่าสนใจ จึงอยากนำมาถ่ายทอดเล่าสู่กันฟัง



ความน่าพิศวงของแมลงหิมะ
แมลงหิมะที่ญี่ปุ่นเรียกว่า Yukimushi เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กพอๆกับยุงหรือไม่ก็เล็กกว่า ที่ก้นของมันจะมีเส้นใยสีขาวเป็นก้อนเล็กๆคล้ายปุยนุ่นเกาะติดอยู่ พบในเกาะฮอกไกโดของประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง มันจะพร้อมใจกันโบยบินจากต้นไม้ที่ชื่อโทโดมะจึไปยังต้นยาจิดะโม เห็นเป็นละอองสีขาวเต็มท้องฟ้าดูราวกับว่าหิมะกำลังจะโปรยปราย จึงเป็นที่มาของชื่อแมลงหิมะ และชาวพื้นเมืองฮอกไกโดทราบกันดีว่า ถ้าเห็นแมลงหิมะโบยบินเมื่อใด นั่นเป็นสัญญาณว่าหิมะแรกของฤดูหนาวกำลังใกล้เข้ามา และมักจะตกภายใน 1 อาทิตย์หลังจากที่แมลงหิมะบินอพยพไปยังที่อยู่แห่งใหม่
หลังจากที่แมลงหิมะบินอพยพไปยังต้นยาจิดะโมแล้ว มันจะออกลูกแล้วก็ตายไป จนกระทั่งปลายฤดูใบไม้ร่วงของปีถัดไป จึงจะเห็นแมลงหิมะออกมาโบยบินอีกครั้งหนึ่ง แต่ตัวที่โบยบินในปีถัดไปนั้นหาใช่ลูกของแมลงหิมะที่ตายไปเมื่อปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ว่า กว่าจะมาเป็นแมลงหิมะที่โบยบินได้ในปีถัดไปนั้น ลูกของแมลงหิมะเมื่อปีที่แล้วจะออกลูกออกหลานที่ไม่เหมือนแมลงหิมะอยู่หลายรุ่นหลายชีวิต(Generation)ก่อนที่จะกลับมาเป็นแมลงหิมะอีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือ ลูกหลานแมลงหิมะแต่ละรุ่นจะเป็นตัวเมียทั้งหมด แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกออกหลานได้โดยไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์
ในวงจรชีวิตของแมลงหิมะจะมีอยู่เพียงรุ่น(Generation)เดียวเท่านั้นที่มีตัวผู้ นั่นคือหลังจากที่แมลงหิมะบินอพยพไปยังที่อยู่ใหม่แล้ว มันซึ่งเป็นตัวเมียทั้งหมดจะออกลูกเป็นไข่ได้เองโดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ไข่จะฟักเป็นตัวภายในเวลาไม่กี่วัน ตัวอ่ออนที่ฟักจากไข่ในรุ่นนี้จะมีทั้งตัวผู้และตัวเมียที่พร้อมจะผสมพันธุ์กันได้ในเวลาไม่กี่อาทิตย์ หลังจากที่ตัวอ่อนรุ่นนี้ผสมพันธุ์แล้วตายไป มันจะทิ้งลูกซึ่งเป็นไข่เพศเมียทั้งหมดไว้ที่ต้นยาจิดะโมท่ามกลางความหนาวเย็นของฤดูหนาวอันยาวนาน รอวันที่จะฟักตัวในต้นฤดูใบไม้ผลิ
ตัวที่ฟักออกมาในต้นฤดูใบไม้ผลินี้ถือว่าเป็นรุ่น(Generation)ที่ 1 มันจะออกลูกแพร่พันธุ์ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ลูกที่ออกมาในรุ่นที่ 2 จะเป็นตัวเมียทั้งหมดเช่นกัน ซึ่งจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว เมื่อสิ้นฤดูใบไม้ผลิ ใบอ่อนของต้นยาจิดะโมหมดไป แมลงหิมะในรุ่นที่ 2 นี้จะเริ่มมีปีกบางเบาออกมา(แต่ไม่มีปุยนุ่นสีขาวที่ก้น) แล้วจะพากันบินไปยังต้นโทโดมะจึ ให้กำเนิดลูกในรุ่นที่ 3 เป็นตัวเมียทั้งหมด ซึ่งจะใช้ชีวิตร่วมกับมดอยู่ที่โคนรากของต้นโทโดมะจึ พอใกล้ฤดูหนาว แมลงหิมะในรุ่นที่ 4 จะโผล่พ้นขึ้นมาเหนือพื้นดิน มีปีกบางเบาออกมาและมีปุยนุ่นสีขาวที่ก้น จากนั้นจะพากันบินไปยังต้นยาจิดะโม มองเห็นเป็นละอองขาวคล้ายหิมะ แมลงหิมะที่เรารู้จักกันก็คือชีวิตในรุ่นที่ 4 นี่เอง ซึ่งก็เป็นตัวเมียทั้งหมด แต่แมลงหิมะในรุ่นที่ 4 นี้ จะสามารถวางไข่ให้กำเนิดเพศผู้ได้ เพศผู้ที่ฟักออกจากไข่จะผสมพันธุ์กับเพศเมียในรุ่นเดียวกันนี้ซึ่งคือรุ่นที่ 5 ซึ่งถือเป็นรุ่นสุดท้ายก่อนที่ไข่ของรุ่นที่ 5 จะฟักเป็นตัวในต้นฤดูใบไม้ผลิเริ่มต้นวงจรชีวิตใหม่เป็นรุ่นที่ 1 อีกครั้ง

ไขปริศนาวงจรชีวิตของแมลงหิมะ
ผู้เขียนได้ลองค้นหาปริศนานี้จากแหล่งความรู้ต่างๆบนอินเตอร์เน็ต จนได้คำตอบที่ไขข้อข้องใจได้พอสมควร ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
แมลงหิมะเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับเพลี้ย ซึ่งตัวเมียสามารถให้กำเนิดลูกได้ โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์
ด้วยวิธีเช่นนี้จะทำให้มันสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และในบางรุ่นจะมีตัวผู้ออกมาเพื่อทำการผสมพันธุ์กับตัวเมียตามปกติ นัยว่าเพื่อไม่ให้ยีนของมันอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ การให้กำเนิดลูกได้โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์นั้นสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในพืช ลองดูต้นมะม่วงที่บ้าน นอกจากมันจะแพร่พันธุ์โดยใช้เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียผสมกันออกมาเป็นเม็ดมัม่วงเอาไปใช้ปลูกได้แล้ว เรายังสามารถแพร่พันธุ์ต้นมะม่งโดยการนำกิ่งของมันไปเพาะเลี้ยง เป็นต้นใหม่
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ เรื่องของการมีปีกและไม่มีปีก แมลงไม่จำเป็นต้องมีปีกเสมอไป แมลงที่มีปีกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นแมลงที่โตเต็มวัยแล้ว เราจะไม่ค่อยได้พบเห็นแมลงมีปีกในขณะที่มันยังเล็กอยู่ ปีกของแมลงจะงอกออกมาในเวลาที่มีความจำเป็นเท่านั้น เช่น เมื่อมีความจำเป็นในการย้ายถิ่นฐานเพื่อไปหาอาหารในแหล่งใหม่ๆ เป็นต้น




บทสรุป
โดยสรุปแล้ว แมลงหิมะที่เราเห็นว่ามี 5 ชีวิตหรือ 5 รุ่น อยู่ในวงจรชีวิตของมันนั้น ความจริงแล้วแต่ละรุ่นแต่ละชีวิตต่างก็เป็นแมลงหิมะเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีการปรับสภาพตัวเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น ในยามที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ แมลงหิมะก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีปีกเพื่อย้ายถิ่นฐานไปไหน และมันจะทำการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วได้ด้วยตัวเมียเองโดยไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์ แต่เมื่อไหร่ที่อาหารขาดแคลน หรือมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างยีนให้แข็งแรง มันก็จะมีปีกงอกออกมาเพื่อบินอพยพไปยังแหล่งที่อยู่ใหม่ หรือมันจะให้กำเนิดลูกที่มีทิ้งเพศผู้และเพศเมียเพื่อให้เกิดการผสมพันธุ์ระหว่างกัน เราจึงเห็นแมลงหิมะในแต่ละช่วงชีวิตมีลักษณะที่แตกต่างกันไปใน 1 ปี
เห็นแมลงหิมะมีวงจรชีวิตเช่นนี้แล้ว ทำให้เกิดแรงบันดาลใจว่าเราควร live beautifully เหมือนแมลงหิมะที่โบยบินในฤดูหนาวพร้อมที่จะก้าวสู่ชีวิตใหม่ในฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาถึง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. http://www.yukimushi.org

หมายเหตุ
ผู้เขียนไม่ใช่นักกีฏวิทยา อาจมีการปล่อยไก่ไปบ้างก็ต้องฝากผู้รู้ช่วยเพิ่มเติมเสริมแต่งให้ถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น ผู้เขียนยังพิศวงในปริศนาของโลกแมลงอีกหลายชนิด อีก 2 ตัวในนั้นคือ จักจั่น 17 ปี แมลงที่จะโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเพื่อลอกคราบและสืบพันธุ์ก่อนที่จะเห็นลูกมันอีกครั้งใน 17 ปีข้างหน้า และ water bear แมลงตัวจิ๋วคล้ายหมีมี 8 ขา ซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้เป็นร้อยๆปี แม้ปฏิกริยาชีวเคมีในร่างกายจะหยุดไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อไหร่ที่มันได้รับน้ำเพียงหยาดหยด มันก็สามารถฟื้นคืนชีวิตกลับมาได้อีกครั้ง มีรูปและรายละเอียดให้ดูที่ http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/discuss.php?d=595 ถ้าผู้เขียนพบคำตอบที่ไขปริศนานี้ได้เมื่อไหร่จะนำมาเล่าสู่กันฟังใหม่ หรือหากผู้รู้ท่านใดจะช่วยกรุณาไชปริศนาให้ ก็จะขอบพระคุณอย่างสูง

วิเชียร เบญจวัฒนาผล
2 พฤษภาคม 2548
ชุมชนคนรักบางแก้ว

Click to enter http://www.bangkaew.com/elearning3

Bangkaew.net and Bangkaew.org are for sale
See details at https://sedo.com/search/?keyword=bangkaew