เป็นไปได้ไหม
โดย SANMAI NG - Tuesday, 13 February 2007, 01:38AM
 

เป็นไปได้ไหมครับ ที่โรคหัดกับลำใส้อักเสบจะเป็นในเวลาเดียวกัน

หรือเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอีกอย่าแทรกซ้อน

ตอบ: เป็นไปได้ไหม
โดย เพื่อน . - Tuesday, 13 February 2007, 10:25AM
 

ถึง คุณพ่อ ซันไม มือเลี้ยงเก่าของบางแก้ว ต้องขออภัยที่ต้องก็อป ข้อมูลของเพื่อนๆในเวปมาลงครับ เป็นของคุณ วัณทนีย์

โรคลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อไวรัส (Canine viral Enteritis)

พบมากในสุนัขอายุ 2 - 6 เดือน

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Parvovirus , Coronavirus

อาการ หลังจากรับเชื้อเข้าไป 7 - 10 วัน สุนัขจะเริ่มอาเจียนบ่อย มีไข้สูงต่ำสลับกัน เบื่ออาหาร ซึม อุจจาระเหลว ท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำ สีน้ำตาล หรือปนแดง กลิ่นเหม็นมาก ช็อคจากการสูญเสียน้ำ เลือด และ พลังงาน ลูกสุนัขจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเนื่องมาจาก เชื้อไวรัสทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

การติดต่อ ทางการสัมผัส หรือติดเชื้อจากอุจจาระของสุนัขที่ป่วย

การรักษา ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องให้ยาช่วยตามอาการ แก้ไขภาวะขาดน้ำ ลดอาการแทรกซ้อน

การป้องกัน ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำหลังจากครั้งแรก 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดทุกๆปี ปีละครั้ง

ไข้หัดสุนัข ชื่อภาษาอังกฤษคือ  Canine Distemper

โรคไข้หัดสุนัข เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับไข้หัดในเด็กหรือหัดเยอรมันในคน และไม่ติดตนสบายใจได้ กล่าวกันว่าโรคนี้เป็นโรคที่ทำให้สุนัขมีอัตราตายสูง ฟังดูหน้าตกใจ  ที่จริงแล้วสุนัขมีอัตราติดเชื้อสูง แต่ไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส  และสุนัขบางตัวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้สูง โรคนี้พบมากในลูกสุนัขช่วงอายุระหว่าง 3-6 เดือน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ลดลง

                เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการ บางสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคอย่างเฉียบพลันมีโอกาสเกิดสมองอักเสบได้ ทำให้สัตว์ตายสูง บางสายพันธุ์ทำให้สุนัขผอมแห้ง ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ และมีอัตราตายสูง แต่ไม่พบอาการทางประสาท อย่างไรก็ตามทุกสายพันธุ์มีผลกดภูมิคุ้มกันของสุนัข

                เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขไม่ทนต่อความร้อน อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส สามารถทำลายเชื้อได้ ความแห้ง ผงซักฟอก น้ำยาที่ละลายไขมันต่าง ๆ ตลอดจนน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไปที่ใช้ทำความสะอาดพื้นคอก กรง ชามอาหาร สามารถทำลายเชื้อได้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส  ไวรัสจะอยู่ได้ 1 ชั่วโมง

                การติดต่อและผลที่เกิดกับร่างกาย

                สุนัขป่วยติดโรคโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป อาจโดยจมูกต่อจมูกสัมผัสกัน หรือละอองไวรัสจากปากหรือจมูกสัตว์ป่วยเข้าไปทางจมูก ปากหรือเยื่อตา เชื้อเพิ่มจำนวนและผ่านหลอดน้ำเหลืองสู่ต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ ในวันที่ 2-4 หลังจากรับเชื้อ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองจะถูกทำลายพร้อมกับไวรัสเพิ่มจำนวน ในวันที่ 4-6 สัตว์จะมีไข้สูง หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าสู่เยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และเนื้อเยื่อสมองส่วนกลางในวันที่ 8-9 หลังจากรับเชื้อโดยการแพร่ไปทางกระแสเลือด ถ้าสัตว์ที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูง จะป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าไปในเยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และยับยั้งการแพร่ของไวรัสและอาการป่วยจะหายไปในวันที่ 14 แต่ถ้าสัตว์ป่วยไม่มีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงพอ ไวรัสจะกระจายเข้าสู่เซลล์บุต่าง ๆ ของทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินระบบสืบพันธุ์และขับถ่าย ตลอดจนผิวหนังและต่อมต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็น ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันภายในร่างกายจะค่อย ๆ สูงขึ้นช้า และอาจทำให้สัตว์หายป่วยได้ ถ้าสายพันธุ์ของไวรัสที่สัตว์ได้รับไม่รุนแรงมากหรือไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่ไวรัสจะยังคงอยู่ในเนื้อเยื่อที่สำคัญบางส่วนเช่น ในม่านตา ในเซลล์ประสาท และฝ่าเท้า ซึ่งจะเป็นสาเหตุของอาการทางประสาทในระยะต่อมา

อาการของสุนัขที่เป็นโรค

อาการของโรคไขหัดสุนัขมีหลากหลาย สุนัขที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการให้เห็น หรือแสดงอาการไม่รุนแรง ไปจนถึงประเภทรุนแรง และตามด้วยอาการทางประสาทไปจนถึงสุนัขตาย

อาการที่พบ เช่น ไข้สูง และลดลงมาเป็นปกติในวันที่ 7-14 ระยะต่อมามีน้ำตาใส ๆ และกลายเป็นหนองข้น

ไม่กินอาหาร บางครั้งอาเจียนเนื่องจากทอนซิลอักเสบ

มีน้ำมูกใสต่อมากลายเป็นมูกหนอง ระยะต่อมาจะไอและหายใจลำบาก

ท้องเสียเป็นมูก หรือปนเลือด และอาเจียน

ตุ่มหนองตามผิวหนัง ฝ่าเท้าแข็งมักพบในรายเรื้อรัง บางรายพบปลายจมูกแข็ง

ที่ตาพบ แผลหลุมลึกที่กระจกตา สัตว์ป่วยสูญเสียการมองเห็น เนื่องจากประสาทตาอักเสบ

กล้ามเนื้อกกหูสั่นกระตุก กล้ามเนื้อขากระตุก ขาหลังอ่อนแรง เดินโซเซ เดินวน เดินเอียง  ตากรอก ชักแบบเคี้ยวปาก

จะป้องกันและรักษาโรคนี้ได้อย่างไร

                ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล การให้การรักษา เป็นการรักษาตามอาการและเพียงเพื่อบรรเทาอาการลง สัตว์ป่วยบางรายขณะตรวจยังไม่มีอาการทางประสาท แต่อาจมีอาการทางประสาทได้ในเวลาต่อมา

                สุนัขอายุน้อยจะได้รับภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ผ่านทางนมน้ำเหลือง และสามารถคุ้มโรคได้จนอายุ 6-8 สัปดาห์ ดังนั้น จึงควรพาสุนัขไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้หัดสุนัขตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ และสัตวแพทย์จะกำหนดวันที่ต้องฉีดกระตุ้นวัคซีนให้กับสุนัขของท่าน หลังจากนั้นสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนซ้ำเป็นประจำทุกปี

แม้ไข้หัดสุนัขจะฟังดูน่ากลัว เพราะป่วยแล้วมีโอกาสตายสูง ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ แต่เรามีวิธีป้องกันโรคที่ได้ผล และผู้เลี้ยงสุนัขทุกท่านควรให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ในสุนัขเพราะให้ผลในการป้องกันโรคได้ดี และค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคจะประหยัดกว่าค่ารักษาอย่างมาก

 

 

 

ตอบ: เป็นไปได้ไหม
โดย yod sun junior - Tuesday, 13 February 2007, 01:15PM
 

พ่อซันมัย เล่าเรื่องฮาม่อนให้ฟังหน่อยค่ะ

แลกเปลี่ยน กรณีไข้หัดสุนัข จากที่เคยเฝ้าสังเกตอาการของปีใหม่ จากวันที่ 14 มค- 17 มค เค้าจะไป อ๊วก หมอบอกเป็นลำไส้อักเสบ  เพียง 3-4 วัน อาการไม่ดีขึ้น พี่เปิดตำราดู ว่าอาการของปีใหม่จะเข้าข่ายโรคใด ก็คิดว่าเป็นไข้หัดสุนัข หรือดิสเทมเปอร์  หมอยังบอกไม่ใช่ ไข้หัดจะพบได้ 3 เดือน  พี่เพื่อนบางแก้วฟันะงว่าเป็นไข้หัดสุนัข ขนาดว่าเป็นผู้เลี้ยงหมา ไม่ได้เป็นหมอยังรู้เล้ย หมอก็กลัวเสียหน้า สุดท้ายเป็นไงละ แพ็คเกจวัคซีน เพิ่งฉีดไข้หัดสุนัขไปแค่เข็มเดียวเอง  มะโห มะโห หมอนี้แปงสุด ๆ นะ

ว่าตำราก็มีหลายอย่าง บางท่านก็บอกว่าสามารถติดเชื้อได้ตั้งแต่แรกเกิด นึกถึงว่าเด็กแรกเกิด ถึงได้ให้วัคซีนบีซีจี ก่อนออกจากโรงพยาบาล ยังไงจะรวบรวมดิสเทมเปอร์มาให้อ่านอีก ถ้ามีคนสนจาย...

แล้วก็เด็กที่แม่ติดเชื้อเอชไอวี เขาก็ยังไม่ตรวจหาภูมิคุ้มกันภายใน 2 เดือน เพราะตรวจไป ส่วนใหญ่ก็จะเจอเชื้อ แต่หลัง 2 เดือนภูมิคุ้มกันจากแม่ลดลง เราจะได้เด็กที่ติดเชื้อ หรือไม่ติดก็คราวนี้แหละ

       อย่างไรก็ตาม กรณีไข้หัดสุนัข ถ้าพบว่าป่วยตอนเด็ก ๆ แล้ว เค้าไม่แข็งแรง โอกาสที่หมา จะเป็นโรคนี้สูงมาก

      ยอด ซัน จูเนียร์ เคยท้องเสียตอนอายุ 47 วัน อุจจาระเหม็นคาว อาเจียนก็เหม็นเหมือนกับปลาเน่า ตอนนั้นไม่รูจักเรื่องการดูแลเบื้องต้น คอยหมออย่างเดียว น้องยอดก็นอรอตั้งคืนหนึ่ง โดยที่ไม่ได้ดื่มอะไรแม้แต่น้อย  รักษาแค่วัน สองวัน อาการดีขึ้น ตอนนั้นเค้าตัวโตมาก กินอาหารเก่งสุด ๆ โตกว่าชาวบ้านละแวกนั้น โตกว่าบางแก้วตัวเมียที่อายุอ่อนกว่า 7 วัน หมอบอกว่ายอดฯ ไปกินดินกินหญ้า แถว ๆ บ้าน ในขณะที่ยูนิก็เล่นเหมือนกันแต่ไม่ป่วย เพราะอะไรละ? อาจจะเป็นเชื้อแบคทีเรียก็ได้นะ ไม่ใช่ไข้หัดสุนัข 

     ต่างกันลิบลับกับปีใหม่ ซึ่งมีอาการน้อย ๆ รักษามาโดยตลอด ยังไม่หายเลย เพราะเค้าทานได้น้อย เป็นเพราะภูมิคุ้มกัน และสุขภาวะส่วนตัวของเค้าด้วยไงคะ

รักษาได้หรือไม่ได้ ก็ไม่อยากให้หมาป่วยค่ะ สงสารพูดไม่ได้  สื่อออกมาทางตา และหางเท่านั้น  มันบีบคั้นหัวใจ...


ตอบ: เป็นไปได้ไหม
โดย SANMAI NG - Wednesday, 14 February 2007, 03:08AM
 

เป็นไปได้ไหมครับ ที่โรคหัดกับลำใส้อักเสบจะเป็นในเวลาเดียวกัน

หรือเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอีกอย่าแทรกซ้อน

เพราะผมสงสัยไปเองครับว่า บางทีลูกหมาเป็นสองโรคพร้อมกัน แต่การรักษาอาจจะทำการรักษาในอาการที่เห็นได้ชัดกับโรคแค่โรคเดียว ทำให้อีกโรคหนึ่งเพาะเชื้ออยู่ในร่างกายลูกหมาโดยไม่ได้รับยาต้านทาน ทำให้ลูกหมาที่ป่วยสองโรคแต่ได้รับการรักษาแค่โรคเดียว  ...เป็นไปได้ไหมครับ ?

ตอบคุณ วันทนีย์ ธารณ์ธนบูลย์

ตอนนี้ม่อนจังแข็งแรงดีครับ  เรื่องการรักษาโรคของม่อนจังนั้นเป็นไปตามที่แพทย์แนะนำครับ  มีการให้ยาวันละสามเวลา+น้ำเกลือ ระยะเวลารักษาก็สิบกว่าวัน ตลอดสิบกว่าวันนี้งดน้ำและอาหาร

*ผมไม่รู้นะครับ ม่อนจังตอนนั้นป่วยเป็นโรคลำใส้อักเสบชนิดไหน*

ขอบคุณพี่เพื่อนบางแก้วและคุณวันทนีย์มากครับสำหรับความรู้

Click to enter http://www.bangkaew.com/elearning3

Bangkaew.net and Bangkaew.org are for sale
See details at https://sedo.com/search/?keyword=bangkaew