ตอบ: โรคไข้หัดสุนัข (Canie Distemper) อันตรายของสุนัขบางแก้ว | |
เคยเสนอไปอยู่เหมือนกัน ว่า สมาคมและชมรมฯต่างๆน่าจะระดมทุนเพื่อทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุก แม้แต่ชมรมคนรักบางแก้วเองก็เคยเสนอว่า ควรมีรองประธานฝ่ายหาทุน เพื่อนำมาสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ แต่คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะต้องใช้บารมีกันพอสมควร ซึ่งยังไม่มีใครพร้อมจะอาสา คงต้องรอไปก่อน ขอบคุณที่รวบรวมข้อมูลโรคหัดและลำไส้อักเสบมาให้ ขอแปะไว้ข้างล่างเพื่อให้ค้นเจอ โรคและวิธีรักษาเบื้องต้นในสุนัข
ไข้หัดสุนัข (Canine Distemper) สาเหตุ เชื้อไวรัส Canine Distemper virus หรือ CDV RNA Virus Paramyxovirus การติดต่อ สามารถติดต่อทางระบบหายใจ จะติดทางน้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย โดยหายใจเข้า ไปหรือ หรือจากการสัมผัส อาการของโรค แบบเฉียบพลัน Aหลังได้รับเชื้อ จะมีไข้สูง เบื่ออาหาร เยื่อตาอักเสบ อาการดังกล่าวจะหายไปและจะกลับมาโดยสุนัขจะซึม เบื่ออาหาร จมูกแห้ง มีน้ำมูกและขี้ตาขุ่นเป็นหนอง ไอ คล้ายอาการของหวัด ปอดบวม อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขาหลังเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด แบบเรื้อรัง Aฝ่าเท้าจะหนา ผอม ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมักจะตายในเวลาต่อมา แต่ในสุนัขบางตัวที่ไม่ตาย จะใช้เวลารักษาหรือพักฟื้นนาน ป้องกัน (Prophylaxis) Aใช้สารช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้สุนัขได้ทันที เช่น แอนติซีรัม หรือแอนติซีรัมเข้มข้น Aใช้สารที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคหลังได้รับสารเช่น วัคซีนรวมที่มี 3 ชนิดขึ้นไป ปัจจุบันใช้วัคซีนเชื้อเป็นชนิดรวมกับโรคอื่น ทำให้สะดวกขึ้น Aหากในสุนัขที่ไม่ทราบประวัติหรืออายุเกิน 3 เดือนแล้ว ควรทำวัคซีนหนึ่งครั้งในช่วงระยะปีแรก ส่วนลูกสุนัขที่เกิดจากแม่ที่ไม่ทราบโปรแกรมและยังอายุต่ำกว่า 3 เดือน ควรให้วัคซีน อย่างน้อย 2 ครั้งหลังหย่านม 1 ครั้ง และเมื่อลูกสุนัขอายุ 12-16 สัปดาห์อีกครั้งหนึ่ง การรักษา Aให้ยาป้องกันการแทรกซ้อนของโรคอื่น เช่น ปอดบวม โดยใช้ยา Antibiotic + Sulfaonamidus Aการชักแก้ไขโดยกินยาฟีโนบาบิตอล ในขนาด 3 mg/kg ทุก 6-8 ชั่วโมง ติดต่อกันไม่เกิน 4 ครั้ง แล้วควบคุมอาการชักด้วยยา พริมิโนหรือมัยโซลิน 50 mg/kg ต่อวัน โดยให้กินทุก 6-8 ชั่วโมง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ หรือจนหาย Aให้ Vitamin ชนิดละลายน้ำและให้อาหารที่มีโปรตีนสูง หากสัตว์กินไม่ได้ สามารถฉีดเข้าหลอดเลือดดำได้ หมายเหตุ โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว ที่มา : จาก internet แต่จำ web site ไม่ได้
โรคสุนัขที่พบบ่อย
โรคไข้หัด หรือดิสเทมเปอร์ เป็นโรคฮิตติดอันดับ สำหรับสุนัขโรคหนึ่ง โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส มักเกิดกับลูกสุนัขอายุน้อย ๆ ตั้งแต่ 2-3 เดือนเป็นต้นไป บางครั้งก็พบว่าเกิดในสุนัขอาวุโสได้เช่นกัน เป็นแล้วโอกาสหาย สำหรับสุนัขที่ติดเชื้อชนิดนี้ค่อนข้างต่ำ น้อยตัวนักที่จะหาย ถึงหายแต่ก็ไม่ปกติ มักแสดงอาการทางประสาท คือ กระตุกหรือชักตลอดชีวิต ส่วนใหญ่แล้วตายอย่างค่อนข้างทรมาน อาการของโรคนี้มักแสดงออกทางระบบทางหายใจก่อน คือมีขี้มูกสีเขียว ไหลย้อย ดูเหมือนปอดบวม มีไข้ เบื่ออาหาร ซึม มีตุ่มหนองขึ้นใต้ท้อง มีขี้ตาสีเขียว ๆ เกรอะกรังตลอดเวลา เมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้น จะพบว่ามีอาการทางประสาท คือริมฝีปากสั่น กระตุก และจะลามไปที่บริเวณหนังหัว ใบหน้า ขาหลัง อาจพบว่าบริเวณฝ่าเท้ากระด้างขึ้น บางรายพบว่ามีท้องร่วงร่วมด้วย สุดท้ายของโรคมักตาย นับเป็นภัยใหญ่หลวงชนิดหนึ่งของลูกสุนัข แต่สามารถป้องกันได้โดยการ พาสุนัขไปรับการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หัดตั้งแต่อายุ 2 เดือน เป็นเข็มแรก หลังจากนั้นอีก 1 เดือน ก็พาไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง ที่มา : http://www.dollydoghouse.com/index.php?tpid=0032 วันที่ 22/1/2550 หน้า 6-7 ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=blackshadow$group=2 วันที่ 22/1/2550 หน้า 25-26
โรคไข้หัดสุนัขคืออะไร โรคไข้หัดสุนัข หรือ Canine Distemper เป็นโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ตระกูลสุนัข ไข้หัดเป็นโรคชนิดที่มีผลต่อประชากรสุนัขในโลกมากที่สุดโรคหนึ่ง สุนัขที่โตเต็มที่ ที่ติดเชื้อนี้มากว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะตาย ส่วนในลูกสุนัขอัตราการป่วยตายประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ในสุนัขบางตัวที่ป่วยและมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ สุนัขอาจะไม่ตายจากการติดเชื้อ แต่มักจะมีความผิดปกติ (ตลอดไป) เช่น เกี่ยวกับระบบประสาท เนื่องจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท รวมทั้งประสาทรับกลิ่น การฟัง หรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับการมองเห็น ส่วนอาการที่ทำให้เกิดอัมพาตบางส่วน หรือทั้งตัวพบได้น้อย ส่วนโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะปอดชื้นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก มักเกิดแทรกซ้อนขึ้นเมื่อสุนัขมีความอ่อนแอจากการติดเชื้อไวรัสไข้หัด ลูกสุนัข หรือสุนัขที่มีอายุน้อยมักจะไวต่อการติดเชื้อ แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นในสุนัขที่มีอายุมากได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า นั่นหมายความว่า โรคไข้หัดสุนัขพบได้ในสุนัขทุกอายุ แมวเป็นสัตว์ที่ไม่ไวต่อการติดเชื้อไข้หัดสุนัข ส่วนโรค ไข้หัดแมว หรือ feline Distemper เป็นโรคที่แตกต่างไปจากโรคไข้หัดสุนัข เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน โรคตับอักเสบชนิดติดต่อเป็นโรคอีกโรคหนึ่งที่พบในสุนัขและโรคตับอักเสบติดต่อในสุนัขไม่ติดคน ไข้หัดมีผลต่อสุนัขอย่างไร โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงสำหรับสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสขนาดเล็ก เ เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข ติดต่อกันได้ด้วยการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากตาและจมูกของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้ แต่การสัมผัสกับน้ำปัสสาวะและอุจาระของสุนัขที่ป่วยสามารถทำให้ติดโรคนี้ได้เหมือนกัน สุนัขปกติสามารถติดเชื้อได้โดยที่ไม่ได้สัมผัสกับสุนัขที่เป็นไข้หัดสุนัขก็ได้ คอกสุนัข หรือบริเวณที่สุนัขเล่น หรืออยู่ของสุนัขป่วย อาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อไปยังสุนัขปกติได้ การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขสามารถแพร่ได้ทางอากาศและวัตถุสิ่งของต่างๆ อาการป่วย ของสุนัขที่ป่วยด้วยโรคไข้หัดสุนัขมักไม่มีรูปแบบที่แน่นนอน ด้วยเหตุนี้ในบางครั้งทำให้วินิจฉัยได้ช้า ทำให้การรักษาทำได้ช้ากว่าปกติ หรือละเลยโรคนี้ไป เนื่องจากในบางครั้งสุนัขอาการเหมือนกับเป็นหวัดอย่างรุนแรง สุนัขส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักมีไข้สูงและสุนัขบางตัวอาจจะพบอาการของหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบและมีอาการกระเพาะอักเสบและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงได้ อาการที่พบในระยะแรก ๆ ของการติดเชื้อไข้หัดสุนัขคือ เจ้าของอาจจะพบว่าสุนัขมีอาการตาอักเสบ ไม่สู้แสง มีขี้ตามาก สุนัขมีน้ำหนักตัวลด ไอ อาเจียน และมีน้ำมูก บางครั้งอาจจะพบว่าสุนัขมีอาการท้องเสียร่วมด้วย การติดเชื้อในระยะท้าย ๆมักจะพบว่าเชื้อไวรัสมีการเข้าไปอยู่ในระบบประสาท ทำให้ลูกสุนัขมีอาการอัมพฤก หรือมีการชักกระตุก เกร็งได้ สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะซึม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการกินอาหารด้วย ในบางครั้ง หรือในสุนัขบางตัว สุนัขป่วยอาจจะแสดงอาการไม่มาก หรือไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ เช่น สุนัขอาจะมีไข้เพียงเล็กน้อยเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือถ้ามีภาวะปอดชื้น หรือมีการอักเสบของลำไส้ หรืออาการอื่น ๆ เกิดขึ้น มีผลทำให้การฟื้นตัวของสุนัขในกลุ่มนี้ยาวนานออกไป (สุนัขกลุ่มนี้มักไม่ตาย) ปัญหาทางระบบประสาทมักจะพบได้ภายหลังจากที่สุนัขฟื้นตัวจากการป่วย (หลายสัปดาห์) ในสุนัขบางรายเชื้อไวรัสจะทำให้มีการเจริญของ tough keratin cells ของฝ่าเท้า ทำให้ฝ่าเท้าหนาและแข็ง โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่พบได้อย่างแพร่หลาย และอาการป่วยจากการติดเชื้อค่อนข้างผันแปร มีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง ดังนั้น ควรนำสุนัขที่สงสัยว่าป่วยไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเป็นการดีที่สุด การป้องกัน สุนัขที่รอดชีวิตจาการติเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขมักจะมีภูมิต้านทานที่เพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัสสุนัขจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกสุนัขมักจะตายจากการติดเชื้อไวรัสนี้ การป้องกันโรคดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันโรค แต่ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดเลยที่สามารถจะให้ภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิตของสุนัข ดังนั้นสุนัขจึงต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นประจำทุกปี ลูกสุนัขที่เกิดมาจะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้ในระดับหนึ่ง ภูมิคุ้มกันนี้เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่สุนัขหลังจากที่คลอดออกมาแล้ว ผ่านทางนมน้ำเหลือง (ไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังคลอด) ดังนั้นระดับภูมิคุ้มกันของลูกสุนัขจึงขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแม่สุนัข โดยทั่วไปมักมีระดับไม่สูงมากนัก ภูมิคุ้มกันที่รับจากแม่สุนัขผ่านทางน้ำนมเหลืองนี้จะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อลูกสุนัขอายุประมาณ 8 วัน ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง และลดลงประมาณ 3 ใน 4 หรือ 75 เปอร์เซ็นต์ ที่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ ดังนั้น การฉีดวัคซีนให้กับลูกสุนัขจึงมักกระทำเมื่อระดับภูมิคุ้มกันจากแม่หมดไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด แต่โดยทั่วไปมักจะทำการฉีดวัคซีนเข็มแรก เมื่อลูกสุนัขอายุประมาณ 8 สัปดาห์ การมีสุขภาพดีของสุนัข สัตว์เลี้ยงที่มี่สุขภาพดีจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นเพื่อนที่มีความสุข เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีชีวิตที่ดี เจ้าของจะต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิดและควรทำเป็นประจำเพื่อลดโอกาสป่วยของสัตว์ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรปรึกษา หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่าสุนัขมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่น ๆ ของร่างกาย สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกะทันหัน หรืออ่อนเพลีย พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ มีรังแค ขนร่วง มีแผลกดทับ หรือมีขนหยิกหยอง หยาบไม่มันวาว ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือพบมีหินปูนเกาะที่ฟันมาก ที่มา : http://www.dollydoghouse.com/index.php?tpid=0032 วันที่ 22/1/2550 หน้า 13-14 ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=blackshadow$group=2 วันที่ 22/1/2550 หน้า 13-16
ลักษณะของBreeder และการดูแลโรคที่เกิดกับสุนัข
โรคไข้หัด หรือดิสเทมเปอร์ (Canine Distemper) พบมากในสุนัขแรกเกิดถึงอายุ 2-3 เดือน สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Paramyxoviriae อาการ หายใจลำบาก และมีอาการปอดบวม เบื่ออาหาร ซึม มีไข้ มีน้ำมูกสีเขียว มีขี้ตาสีเขียว มีตุ่มเกิดขึ้นใต้ท้องถ้าสุนัขทนอยู่ได้นาน จะแสดงอาการฝ่าเท้าแข็งและมีอาการทางระบบประสาท ริมฝีปากสั่น ชักกระตุก เป็นอัมพาต อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย และตายในที่สุด ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนเริ่มแสดงอาการไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุนัขแต่ละตัว การติดต่อ ทางระบบการหายใจ และการสัมผัสกับสิ่งขับถ่าย เช่น อาหารที่ติดเชื้อ น้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ การรักษาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ การทำวัคซีนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด การป้องกัน ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน ฉีดซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากเข็มแรก 2 อาทิตย์ถึง 1 เดือน และฉีดซ้ำทุกปี ๆ ปีละครั้ง ที่มา : http://www.mlovegolden.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents$id=73985$Nty... วันที่ 22/1/2550 หน้า 1
โรคไข้หัดสุนัข อ.สพ.ญ.นงเยาว์ สุวรรณธาดา ไข้หัดสุนัข ชื่อภาษาอังกฤษคือ Canine Distemper เราคงคุ้นหูกันดี โรคนี้เป็นแล้วตายจริงหรือ เรามาหาคำตอบกันดีกว่า โรคไข้หัดสุนัข เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับไข้หัดในเด็กหรือหัดเยอรมันในคน และไม่ติดตนสบายใจได้ กล่าวกันว่าโรคนี้เป็นโรคที่ทำให้สุนัขมีอัตราตายสูง ฟังดูหน้าตกใจ ที่จริงแล้วสุนัขมีอัตราติดเชื้อสูง แต่ไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส และสุนัขบางตัวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้สูง โรคนี้พบมากในลูกสุนัขช่วงอายุระหว่าง 3-6 เดือน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ลดลง เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการ บางสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคอย่างเฉียบพลันมีโอกาสเกิดสมองอักเสบได้ ทำให้สัตว์ตายสูง บางสายพันธุ์ทำให้สุนัขผอมแห้ง ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ และมีอัตราตายสูง แต่ไม่พบอาการทางประสาท อย่างไรก็ตามทุกสายพันธุ์มีผลกดภูมิคุ้มกันของสุนัข เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขไม่ทนต่อความร้อน อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส สามารถทำลายเชื้อได้ ความแห้ง ผงซักฟอก น้ำยาที่ละลายไขมันต่าง ๆ ตลอดจนน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไปที่ใช้ทำความสะอาดพื้นคอก กรง ชามอาหาร สามารถทำลายเชื้อได้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ไวรัสจะอยู่ได้ 1 ชั่วโมง การติดต่อและผลที่เกิดกับร่างกาย สุนัขป่วยติดโรคโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป อาจโดยจมูกต่อจมูกสัมผัสกัน หรือละอองไวรัสจากปากหรือจมูกสัตว์ป่วยเข้าไปทางจมูก ปากหรือเยื่อตา เชื้อเพิ่มจำนวนและผ่านหลอดน้ำเหลืองสู่ต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ ในวันที่ 2-4 หลังจากรับเชื้อ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองจะถูกทำลายพร้อมกับไวรัสเพิ่มจำนวน ในวันที่ 4-6 สัตว์จะมีไข้สูง หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าสู่เยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และเนื้อเยื่อสมองส่วนกลางในวันที่ 8-9 หลังจากรับเชื้อโดยการแพร่ไปทางกระแสเลือด ถ้าสัตว์ที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูง จะป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าไปในเยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และยับยั้งการแพร่ของไวรัสและอาการป่วยจะหายไปในวันที่ 14 แต่ถ้าสัตว์ป่วยไม่มีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงพอ ไวรัสจะกระจายเข้าสู่เซลล์บุต่าง ๆ ของทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินระบบสืบพันธุ์และขับถ่าย ตลอดจนผิวหนังและต่อมต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็น ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันภายในร่างกายจะค่อย ๆ สูงขึ้นช้า และอาจทำให้สัตว์หายป่วยได้ ถ้าสายพันธุ์ของไวรัสที่สัตว์ได้รับไม่รุนแรงมากหรือไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่ไวรัสจะยังคงอยู่ในเนื้อเยื่อที่สำคัญบางส่วนเช่น ในม่านตา ในเซลล์ประสาท และฝ่าเท้า ซึ่งจะเป็นสาเหตุของอาการทางประสาทในระยะต่อมา อาการของสุนัขที่เป็นโรค อาการของโรคไขหัดสุนัขมีหลากหลาย สุนัขที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการให้เห็น หรือแสดงอาการไม่รุนแรง ไปจนถึงประเภทรุนแรง และตามด้วยอาการทางประสาทไปจนถึงสุนัขตาย อาการที่พบ เช่น ไข้สูง และลดลงมาเป็นปกติในวันที่ 7-14 ระยะต่อมามีน้ำตาใส ๆ และกลายเป็นหนองข้น ไม่กินอาหาร บางครั้งอาเจียนเนื่องจากทอนซิลอักเสบ มีน้ำมูกใสต่อมากลายเป็นมูกหนอง ระยะต่อมาจะไอและหายใจลำบาก ท้องเสียเป็นมูก หรือปนเลือด และอาเจียน ตุ่มหนองตามผิวหนัง ฝ่าเท้าแข็งมักพบในรายเรื้อรัง บางรายพบปลายจมูกแข็ง ที่ตาพบ แผลหลุมลึกที่กระจกตา สัตว์ป่วยสูญเสียการมองเห็น เนื่องจากประสาทตาอักเสบ กล้ามเนื้อกกหูสั่นกระตุก กล้ามเนื้อขากระตุก ขาหลังอ่อนแรง เดินโซเซ เดินวน เดินเอียง ตากรอก ชักแบบเคี้ยวปาก จะป้องกันและรักษาโรคนี้ได้อย่างไร ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล การให้การรักษา เป็นการรักษาตามอาการและเพียงเพื่อบรรเทาอาการลง สัตว์ป่วยบางรายขณะตรวจยังไม่มีอาการทางประสาท แต่อาจมีอาการทางประสาทได้ในเวลาต่อมา สุนัขอายุน้อยจะได้รับภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ผ่านทางนมน้ำเหลือง และสามารถคุ้มโรคได้จนอายุ 6-8 สัปดาห์ ดังนั้น จึงควรพาสุนัขไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้หัดสุนัขตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ และสัตวแพทย์จะกำหนดวันที่ต้องฉีดกระตุ้นวัคซีนให้กับสุนัขของท่าน หลังจากนั้นสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนซ้ำเป็นประจำทุกปี แม้ไข้หัดสุนัขจะฟังดูน่ากลัว เพราะป่วยแล้วมีโอกาสตายสูง ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ แต่เรามีวิธีป้องกันโรคที่ได้ผล และผู้เลี้ยงสุนัขทุกท่านควรให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ในสุนัขเพราะให้ผลในการป้องกันโรคได้ดี และค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคจะประหยัดกว่าค่ารักษาอย่างมาก ที่มา : http://vet.kku.ac.th/rabies/desease/distemper.htm วันที่ 22/1/2550 หน้า 1-2
|