ช่วยด้วยครับ
โดย สราพงษ์ คะเณย์ - Saturday, 21 October 2006, 08:51AM
  ผมเป็นมือใหม่หัดเลี้ยง ตอนนี้บางแก้วของผมมีอายุ 6 เดือน ได้ฉีดวัคซีนไปแล้วหนึ่งครั้งเมื่อตอนอายุสามเดือน ครั้งที่สองยังไม่ได้ฉีดครับ ผมเลี้ยงร่วมกับหมาพันธ์ทางอีกตัวหมาตัวนี้ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค ฉีดแต่กันสุนัขบ้า และเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาหมาตัวนี้ได้ตายลงซึ่งสาเหตุมาจากลำไส้อักเสบ(เมียสัตวแพทย์บอกมา) ส่วนบางแก้วก่อนหน้านี้จะมีอาการไม่ค่อยร่าเริง(แต่ไม่ได้ซึมนะ)และการกินอาหารก็จะน้อยลง และที่น่าแปลกคือตาจะสู้แสงไม่คอ่ยได้ สังเกตุจากกลางคืนตาจะเต็มส่วนกลางวันมันพยายามรี่ตาและเกลือกตาขาวมากขึ้น (คล้ายคนตาบอด) ผมพาไปหาหมอแต่ไม่เจอหมอเจอแต่เมียหมอแกบอกว่าเป็นไข้หวัดแกเลยฉีดยาแก้ไข้และอักเสบสองเข็ม จนผ่านมาหนึ่งสัปดาห์อาการก็ยังไม่ค่อยดีขึ้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยแนะนำด้วยครับว่าผมจะทำยังไงต่อดี(บางแก้วผมน่ารักมากครับไม่ดุกับคนในครอบครัวญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง )
ตอบ: ช่วยด้วยครับ
โดย สมเกียรติ แม่กลอง - Saturday, 21 October 2006, 09:31AM
  รีบ พาไปให้หมอตรวจด่วนเลยน่ะครับ อย่างน้อยก็ได้ตรวจสุภาพของน้องหมาว่ามีอาการอย่างไร แล้วน่าจะเริ่มการฉีดวัดซีนเริ่มต้นใหม่เลย คงจะยังไม่สายเกินไปครับ
ตอบ: ช่วยด้วยครับ
โดย phan _kong - Saturday, 21 October 2006, 09:47AM
 

เมื่อไรจึงควรทำวัคซีนไห้สุนัขของเรา

                ส่วนใหญ่ของภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่นั้นจะผ่านมาทางนมน้ำเหลืองลูกสุนัขจึงต้องได้รับนมน้ำเหลืองให้เร็วที่สุด ซึ่งความสามารถในการย่อยและดูดซึมนมน้ำเหลืองของลูกสุนัข จะเกิดขึ้นสูงสุดใน 24 ชม. หลังจากนั้น 3 วัน ลูกสุนัขจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากนมน้ำเหลืองได้

                ระดับของภูมิคุ้มกัน ที่ได้รับนั้นจะสามารถป้องกันโรคได้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจนไม่สามารถป้องกันโรคได้ โอกาสที่จะได้รับเชื้อจนป่วย และตาย จึงเกิดขึ้นได้ลูกสุนัขจึงต้องมีการทำวัคซีนเพื่อให้ระดับของภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงพอที่จะป้องกันโรค การทำวัคซีนในขณะที่ลูกสุนัขมีภูมิคุ้มกันจากแม่สูงจะเกิดการหักล้างกันของวัคซีนกับภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ ทำให้วัคซีนที่ได้รับไม่เกิดผล

                ดังนั้นช่วงอายุของลูกสุนัข ที่เหมาะสมทำวัคซีนคือช่วงที่ระดับของภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ไม่มีผลต่อวัคซีน แต่ในทางปฏิบัตินั้นทำได้ยาก เนื่องจากระดับของภูมิคุ้มกันที่ได้รับเริ่มแรกไม่เท่ากันยกเว้นการทำวัคซีนนั้นเป็นการทำวัคซีนเฉพาะที่เช่น การหยอดจมูกหรือเป็นการทำวัคซีนชนิดที่จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูงพอที่จะสามารถผ่านระดับภูมิคุ้มกันจากแม่ ไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ตัวลูกได้

                  ทำไมสุนัขเรา..จึงต้องทำวัคซีน

                โรคติดต่อที่ร้ายแรง ซึ่งคร่าชีวิตสุนัขของท่าน ให้จากไปก่อนเวลาอันสมควร การแพร่กระจายของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโรคเหล่านี้เมื่อเป็นแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายนั้นเป็นไปได้ยากส่วนใหญ่ สุนัขที่ป่วยมักจะตาย ซึ่งจะก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สุนัข และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อบางชนิดสามารถติดต่อถึงคนได้

                การศึกษาเรื่องโรค และการป้องกันจึงมีความจำเป็นเพื่อเป็นแนวทาง ในการป้องกันชีวิตของสุนัขของท่าน  การทำวัคซีนจึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหา ให้กับสุนัขของท่าน

                 ทำไมทำวัคซีนแล้ว สุนัขยังคงป่วยและตายด้วยโรคที่ทำวัคซีน    

                การสร้างภูมิต้านทานเฉพาะโรคกับวัคซีนที่ได้รับนั้น ต้องอาศัยเวลาอย่างน้อยประมาณ 2 อาทิตย์ ดังนั้นลูกสุนัขที่ทำวัคซีนไม่ครบโปรแกรมควรระวังการติดเชื้อจากสุนัขโตหรือสุนัขตัวอื่นๆ ควรระลึกไว้เสมอว่า วัคซีนคือ แนวทางป้องกันโรคติดเชื้อซึ่งเราสามารถมอบให้กับสุนัขได้ แต่การสร้างภูมิคุ้มกันในสุนัขนั้น ยังมีปัจจัยอื่นเช่น ความแข็งแรงสมบูรณ์ของลูกสุนัข และส่งผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่เท่ากันในสุนัขแต่ละตัว

                ทั้งนี้ การสรุปว่าสุนัขป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หัดสุนัขลำไส้อักเสบนั้น ต้องมีการพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันการติดเชื้อที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการเจ็บป่วยในลูกสุนัขนั้น มีอาการใกล้เคียงกัน และอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้

                ข้อควรปฏิบัติหลังจากทำวัคซีน

ควรงดอาบน้ำอย่างน้อย 1 อาทิตย์

ให้สุนัขได้พักผ่อน และกินอาหารที่ดี มีคุณภาพ

ถ้าพบเห็นอาการผิดปกติใดๆ หลังจากทำวัคซีนควรปรึกษาสัตวแพทย์

ตอบ: ช่วยด้วยครับ
โดย phan _kong - Saturday, 21 October 2006, 09:50AM
 

โปรแกรมการดูแลสุขภาพสุนัข

3-4 สัปดาห์ - ตรวจสุขภาพและถ่ายพยาธิ วัคซีนป้องกันหวัด และหลอดลมอักเสบ (ชนิดพ่นจมูก)

6-8 สัปดาห์ - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข, ตับอักเสบติดต่อ และเลปโตสโปโรซิส,ฉีดวัคซีน ป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อ หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัขและลำไส้อักเสบติดต่อ ตรวจสุขภาพ ถ่ายพยาธิ, ป้องกันพยาธิหัวใจ

8-10 สัปดาห์ - ฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัดสุนัขตับอักเสบติดต่อ, หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ,ลำไส้อักเสบติดต่อ และเลปโตสโปโรซิส

10-14 สัปดาห์ - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัขตับอักเสบติดต่อ, หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ,ลำไส้อักเสบติดต่อ และเลปโตสโรโรซิส

12 สัปดาห์ - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ทุก 1 ปี - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัดสุนัขตับอักเสบติดต่อ, หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ,ลำไส้อักเสบติดต่อ และเลปโตสโปโรซิส

การถ่ายพยาธิ ควรถ่ายซ้ำอย่างน้อย ทุก 3 เดือน

การคุมกำเนิด ทำหมันเมื่อสุนัขอายุ 8 เดือน – 1 ปี ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์

ตัดหาง เมื่ออายุ 3-5 วัน

ตัดนิ้วติ่ง เมื่ออายุ 3 วัน – 1 สัปดาห์

หมายเหตุ โปรแกรมวัคซีน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ตอบ: ช่วยด้วยครับ
โดย phan _kong - Saturday, 21 October 2006, 09:55AM
 

โรคติดต่อที่สำคัญในสุนัข

ไข้หัดสุนัข

เป็นโรคติดต่อเชื้อไวรัส ซึ่งเกิดขึ้นได้ในสุนัขทุกช่วงอายุ แต่ลูกสุนัขจะไวต่อการรับเชื้อได้มากที่สุด

การติดต่อ ส่วนใหญ่โดยทางการหายใจบางส่วนได้รับจากการกินเอาเชื้อที่ติดออกมาทางน้ำมูก

อาการ น้ำมูก น้ำตาเกรอะกรัง ปอดบวม อาเจียน ท้องเสีย (อาจมีมูกเลือดปน) ถ้าสุนัขป่วยทนอยู่ได้นาน จะแสดงอาการฝ่าเท้าแข็งและมีอาการทางประสาท คือ กล้ามเนื้อกระตุก โดยเฉพาะบริเวณปาก กล้ามเนื้อขาหน้าและขาหลัง ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนเริ่มแสดงอาการไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุนัขแต่ละตัว

การรักษา ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จการทำวัคซีนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกันโรค

ลำไส้อักเสบติดต่อ

เป็นโรคติดต่อเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดการตายสูงโดยเฉพาะในลูกสุนัขเล็กก่อนหย่านม

การติดต่อ ส่วนใหญ่จาการกินอาหารที่ปนเปื้อนกับเชื้อที่ออกมากับอุจาระ

อาการ อาเจียน ถ่ายเป็นเลือดรุนแรงมีกลิ่นคาวเฉพาะมีอาการปวดเกร็งท้องในรายที่รุนแรง ลูกสุนัขจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากเชื้อไวรัสทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

การรักษา รักษาตามอาการ แก้ไขสภาวะขาดน้ำ ลดอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เช่น ปอดบวมความสำเร็จในการรักษาขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างภูมิต้านทานเชื้อไวรัสได้

พิษสุนัขบ้า

เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญ เนื่องมาจากสามารถติดต่อสู่คนได้

การติดต่อ เชื้อจากน้ำลาย จะเข้าสู่ทางบาดแผลที่ถูกกัด

อาการ มีทั้งแบบซึมชอบเก็บตัวไม่ชอบสู้แสง และแบบดุร้าย การกินอาหารและน้ำลำบากเนื่องจากเกิดอัมพาตที่ขากรรไกร ท่าทาการเดินจะผิดแปลกไปเกิดอาการเกร็งหางตกพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม

การรักษา ไม่มีวิธีรักษา สุนัขที่ได้รับเชื้อนี้จะตายภายในระยะเวลาไม่นานแนะนำให้ทำลายสุนัขทิ้งเนื่องจากเป็นโรคติดต่อสู่คนได้

ตับอักเสบติดต่อ

เกิดจากเชื้อไวรัสพบในสุนัขได้ทุกช่วงอายุ พบบ่อยในสุนัขอายุไม่เกิน 1 ปี

การติดต่อ จากการปนเปื้อนของเชื่อมาจากอุจจาระปัสสาวะรวมทั้งน้ำมูกน้ำลาย

อาการ ซึม อาเจียน ท้องเสีย ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเกร็งท้อง กระจกตาขุ่นมัว บวมน้ำทั่วร่างกายและตายในที่สุด

การรักษา ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุนัขและความรุ่นแรงของเชื้อ

เลปโตสโปโรซิส

เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งสามารถติดต่อสู่คนได้

การติดต่อ เชื้อปนเปื้อนกับปัสสาวะของสัตว์ป่วยมีหนูเป็นตัวนำโรค

อาการ ไข้สูง อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด กระหายน้ำมาก ดีซ่านเจ็บปวดในช่องท้อง ในรายที่อาการหนักอาจถึงตายได้

การรักษา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อและการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว

หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ

ซึ่งทำให้เกิดอาการไอแห้งเป็นโรคติดต่อของระบบทางเดินหายใจตอนบนซึ่งมีเชื้อไวรัสหลายตัวที่ทำให้เกิดอาการนี้ รวมทั้งแบคทีเรียบางชนิด

การติดต่อ จากสุนัขป่วยทางการหายใจ

อาการ สุนัขจะมีอาการไอแห้ง การกินอาหารอาจจะลดลงเนื่องจากการติดเชื้อรุนแรง ซึ่งมีผลทำให้ลุกลามจนถึงขั้นปอดบวมได้ อาการรุนแรงในลูกสุนัขอายุน้อย

การรักษา ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จ

Click to enter http://www.bangkaew.com/elearning3

Bangkaew.net and Bangkaew.org are for sale
See details at https://sedo.com/search/?keyword=bangkaew