Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Tuesday, 22 August 2006, 09:41PM
 

ตอนนี้ได้คำตอบในการแก้ปัญหาวิธีหนึ่งให้น้องฮัช คะ พอดีมีเพื่อนที่เป็นกรรมการชมรมสุนัขไทยหลังอาน แนะนำให้ไปพบหมอที่เชี่ยวชาญและรักษาโรคนี้ด้วยวิธีผ่าตัดกล้ามเนื้อ และ สุนัขจะมีโอกาสใช้ชีวิตที่เกือบปกติได้ถึง 5 ปีหลักผ่าตัด ก็เลยไปค้นในเวบเพิ่มเติมในส่วนที่คุณหมอแนะนำ

CANINE HIP DYSPLASIA (CHD)
...and  Degenerative Joint Disease (DJD)
by T. J. Dunn, Jr. DVM

"MUSCLE AND CHD:  Research has shown that dogs with CHD have significantly decreased sizes of total pelvic musculature surrounding and acting on the hip joint.  Whether this is a contributing factor or a result of hip dysplasia remains to be proven.
One muscle that can contribute to worsening of hip dysplasia is the Pectineus Muscle.   In dogs with a strong genetic background for CHD, the microscopic makeup and contractibility of the Pectineus Muscle are strikingly different from the same muscle of normal dogs.  The theory is that a tight or inelastic Pectineus Muscle causes tension in such a direction that the force tends to pull the head of the femur away from the acetabulum.  So the tight muscle creates more looseness in the joint.  I have had good results in about 50% of the cases I have surgically excised a portion of the Pectineus Muscle.  The patients were more comfortable and mobile almost immediately.  This Pectineal Myotomy surgery has no effect on the arthritic changes in the hip joints; it can make the dog more comfortable." ค้นจากLink http://www.thepetcenter.com/xra/hd.html

คุณหมอ ดูจากฟิลม์ของน้องฮัชพบว่า ตัวด้านเบ้ายังไม่บานมาก และยังไม่มีการเติบโตของกระดูกจนทำให้ผิวขรุขระ ของน้องฮัชเป็นเพียงการพัฒนาของกระดูกไม่เป็นไปตามปกติ ที่มีผลจากกรรมพันธุ์พร้อมทั้งการเลี้ยงดูบนพี้นลื่น

ดูข้อมูลทั้งหมดเหมือนจะทำให้เห็นเค้ารางการที่น้องฮัชจะมีชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น แต่หวั่นๆ มากๆ คะ  ไม่มั่นใจว่าจะให้ผ่าดีหรือไม่คะ อยากขอความเห็นนะคะ ว่าใครเคยมีประสบการณ์ หรือความรู้ที่จะทำให้เรามั่นใจและลดความกังวลลงได้นะคะ

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย สมเกียรติ แม่กลอง - Tuesday, 22 August 2006, 11:10PM
  น่ากลัวจังกร๊าบบบบ น้องมังคุดกะน้องแตงโมเป็นกำลังใจให้ปี่ฮัชน่ะกร๊าบบบบบบบบบบ สู้ๆๆๆ
ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย Bo (oYo) - Wednesday, 23 August 2006, 05:16AM
 

มีเพิ่มเติมที่

ตะโพก ร้าย Hip Dysplasia
โดย ^.".^ Jill - พฤหัสบดี, 7 กรกฎาคม 2005, 07:01AM
 

This is a disorder that has been proven to have a genetic basis. It is not caused by nutrition. Hips are affected by a large number of genes: some may be recessive. The problem is that we don't know how to identify any of them. We do Hip x-rays to eliminate dogs from breedings that are affected. This lessens the likelyhood of passing the genes that can produce it. We know that two "normal" dogs can produce dysplastic puppies. Alone the parents do not have the combination that creates dysplasia, they are unaffected. But, together they may pass on to their puppies the three dominant genes that make abnormal formation of the hips. Simply put . . . if the parents are carrying genetic material for hip dysplasia - so will the offspring.

http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/discuss.php?d=818
ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย carnivore ...The Alpha Wolf - Wednesday, 23 August 2006, 09:15AM
 

ได้เคยโพสไว้ ในกระทู้แรก  ที่มาเล่า..เรื่องกลุ้มๆของน้องฮัช... เข้าใจว่า คุณ ปารีณา อาจจะอ่านข้ามไป  หรือไม่ละเอียด  หรืออ่านแล้วลืมไปแล้ว  จึงขออนุญาตลิ้งค์กระทู้ และคัดข้อความที่โพสไว้ เกี่ยวกับหมาของตัวเองที่ มีปัญหาข้อตะโพกรุนแรง และ ได้รับการผ่าตัดมาแล้ว   มาให้ดูอีกครั้งหนึ่งค่ะ

http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/discuss.php?d=1827

**.... หมาที่บ้านอีกตัวหนึ่งเป็นโรคข้อตะโพกนี้ แบบเบ้าตื้น   คุณหมอไม่ผ่าดัดคว้านเบ้ากระดูกให้  โดยได้ให้เราดูฟิล์มเอ็กซเรย์ ว่าเบ้าตื้นเกือบแบนเป็นจาน(ไม่ใช่ ชาม แบบที่คุณจรัญบอก)  ลักษณะแบบนี้หมอไม่แนะนำให้ผ่าตัดแก้ไขตรงส่วนนั้น   เพราะเนื้อกระดูกเชิงกรานไม่พอ  แต่มีการผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น(ไม่แน่ใจ) ด้านในต้นขาทั้งสองข้าง   ไม่ให้ดึงยึดข้อขาหลังเข้าหากันมากเกินไป  จนทำให้หัวกระดูกต้นขามีแนวโน้มเอียงออกด้านนอกเสี่ยงต่อการหลุดจากกระดูกเชิงกรานมากเกินไป   

ต้อง ให้กินยาลดปวดเป็นช่วงๆที่เขามีอาการปวดจนซึมไปกว่าปกติ  และให้ยาบำรุง ซ่อมแซมเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบข้อกระดูก ,  ดูแลควบคุมน้ำหนัก  ไม่ให้เขาอ้วน  โดยให้กินอาหารตามธรรมชาติของสัตว์กินเนื้อ  คืออาหารสดดิบ   เขาเป็นหมาที่ซนมาก เคลื่อนไหวรวดเร็วมีความคล่องตัวสูง  เป็นหมานักล่าตัวจริง(ผิดพวกพ้อง)  ชอบไล่กัด นก ไก่ แมว และสัตว์อื่นๆ   ถ้าเขามีน้ำหนักมาก  เขาจะเคลื่อนไหวลำบาก  ไม่คล่องตัวตามนิสัยของเขา    จะทำให้เขาไม่มีความสุข

ทุกวันนี้หมาตัวนั้น  ยังมีชีวิตอยู่อย่างปกติเช่นเดียวกับตัวอื่นๆในบ้าน  แม้ข้อตะโพกจะพิการมากขนาดนั้นทั้งสองข้าง   จนบางครั้งเวลาวิ่งเร็วๆ  ข้อขาหลังจะเกี่ยวกันจนหกล้ม  เขาก็สามารถลุกขึ้นวิ่งต่อได้อย่างรวดเร็ว   อายุเกินสิบปีแล้ว  แต่ยังวิ่งไล่จับนก จับจิ้งเหลน , กิ้งก่า สารพัดสัตว์ ฯลฯ ได้อยู่ อย่างมีความสุขตามประสาหมา(ที่ไม่รู้ว่าตัวเอง)พิการ  (เหมือนตัวแรกที่ไม่มีลูกสะบ้า)........**

รูปหมาตัวที่พูดถึง ปัจจุบัน อายุ 12 ปี   ผ่าตัดไปเมื่ออายุประมาณ 1 ปีที่ รพส.จุฬาฯ  หลังจากผ่าตัดแล้ว  ไม่เคยต้องกลับไปรับการรักษาอีกเลย  ปัจจุบันยังวิ่งไล่ล่าสัตว์(และหกคะเมนตีลังกาเพราะขาพันกัน)อย่างที่เล่ามาได้ตามปกติ สังเกตข้อขาหลังจะเห็นว่า ยังชิดกันอยู่ 


ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Wednesday, 23 August 2006, 09:52AM
 

ต้องขอโทษคะที่อ่านไม่ละเอียดคะ ที่หมอแนะนะให้ทำการผ่าตัดในครั้งนี้นะคะ จะไม่แตะต้องอะไรกับกระดูกเลยคะ กรณีของการผ่าตัดของน้องฮัช จะต่างเล็กน้อยกัลเจ้าอาเซเซี่ยน คือไม่มีกระดูกนะคะ พอดีเจอในบอร์ดของสัตว์แพทย์คุยกันถึงผลการผ่าตัด นะคะ ในประโยคหลังของข้อมูลในเวบที่ลิงค์ข้างล่างนี้ ไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจทั้งหมดหรือไม่คะ คือ "The operation has a role in the treatment of hip dysplasia but it does not cure the condition and it will be several years before the long-term results are known." หมายความว่าปัญหาจะกลับมาหรือเปล่านะ อยากได้ความมั่นใจนะคะ ว่าผ่าเลย เพราะคุณหมอแนะนำว่าให้ผ่าวันนี้พรุ่งนี้เลย ใช้เวลาแค่ 1-2 ชั่วโมงก็เสร็จแล้ว  จะลองดูดีไม๊เห็นด้วย???????

2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/entrez/query.fcgi?cmd=Retrieve&db=PubMed&list_uids=1119074&dopt=Abstract

Vet Rec. 1975 Feb 15;96(7):145-8.

Related Articles, Links


Pectineus muscle resection as a treatment for hip dysplasia in dogs.

Vaughan LC, Jones DG, Lane JG.

Pectineus muscle resection was performed on 100 dogs with hip dysplasia. The degree of dysplasia was estimated by radiography and by joint manipulation. The effects of the procedure on 81 dogs were determined by personal reinspection (34), or by means of owner-reports (47). Improvement was noted in 80 per cent but only 35 per cent reached a high level of recovery.
PMID: 1119074 [PubMed - indexed for MEDLINE]

 

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย carnivore ...The Alpha Wolf - Wednesday, 23 August 2006, 12:26PM
 

คิดว่า คุณปารีณายังไม่ได้อ่านโดยละเอียดอยู่ดีแหละค่ะ  หรือเราเองอาจจะเขียนอธิบายไม่ชัดเจน      ไม่ทราบว่าจะอธิบายอย่างไรให้ชัดกว่านี้ 

สรุปว่า  หมาตัวที่เล่าให้ฟังนี้  ก็ไม่ได้ผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูกเลย   เป็นการผ่าตัด กล้ามเนื้อด้านในต้นขา เหมือนกับที่ในบทความอธิบายไว้  เพื่อลดแรงดึงด้านในต้นขา     ที่อาจจะทำให้หัวกระดูก  มีแนวโน้มที่จะหลุดออกห่างจากเบ้ามากขึ้น

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย carnivore ...The Alpha Wolf - Wednesday, 23 August 2006, 01:03PM
 

อีกเรื่องหนึ่ง  ที่สำคัญมาก  และจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ได้ด้วยค่ะว่า   โรค Hip Dysplasia(ข้อตะโพกวิการ) นี้  ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้   

*** แต่การเลี้ยง  และดูแล   อย่างถูกต้องเหมาะสม  จะสามารถบรรเทาอาการ  ทำให้หมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เทียบเท่าหมาปกติอื่นๆ เช่น 

การผ่าตัดเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น 

การให้อาหารเสริมเพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือกระดูกอ่อนโดยรอบ 

การให้อาหารที่มีประโยชน์สูงสุด  ต่อตัวหมาเอง

การดูแลสภาพที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของหมา  

การดูแลให้ออกกำลังกายให้เหมาะสม ไม่หนัก หรือน้อยเกินไป 

ฯลฯ....ฯลฯ.....

การผ่าตัด    มีส่วนอย่างมาก   ที่จะช่วยให้หมามีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้นได้แน่นอนค่ะ  แต่ลักษณะทางกายภาพและตำแหน่งที่ผิดปกติของข้อกระดูกจะยังคงอยู่   

เป็นการผ่าตัดง่ายๆ  และรวดเร็ว อย่างที่คุณหมอบอกจริงๆค่ะ     หมาฟื้นขึ้นมาก็ร่าเริงดี้ด้า เหมือนปกติ  เพราะไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวกับอวัยวะภายในเลย    หลังการผ่าตัด  หมาจะดีขึ้น หรือแย่ลงอย่างไร  ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของ   ในการจัดการองค์ประกอบอื่นๆที่กล่าวมาแล้วข้างบนนี้แหละค่ะ   

หวังว่าจะมีส่วนช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายและเร็วขึ้น

ขอให้โชคดีค่ะ

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Wednesday, 23 August 2006, 01:27PM
 

ที่ไม่มั่นใจคือ อยากทราบว่ามี Case ผ่าตัดในสุนัขบางแก้วหรือเปล่า เพราะเท่าที่มีการผ่าตัดมาส่วนใหญ่ เป็นสุนัขพันธ์ฝรั่ง และเป็นพันธุ์ใหญ่ ก็เลยอยากทราบว่าในสุนัขพันธุ์กลางอย่างบางแก้ว จะมีประเด็น หรือ มีข้อดีข้อเสีย หรือแตกต่างกันอย่างไร เพียงแค่อยากจะเช็คข้อมูลให้แน่ใจ ว่าเราได้เลือกวิธีที่ดีที่สุดให้น้องฮัช และได้ตรวจสอบข้อดีข้อเสีย และผลข้างเคียงให้รอบด้านก่อนการตัดสินใจนะคะ

อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณมากๆ คะ สำหรับคำแนะนำที่ทำให้มั่นใจมากๆในการตัดสินใจ คิดว่าจะนัดคุณหมอวันเสาร์นี้คะ และขอให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีด้วยคะ

ขอขอบพระคุณอีกครั้งและจะกลับมาเล่าอาการให้ทุกคนทราบอีกทีคะ

ตาเขียว

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย carnivore ...The Alpha Wolf - Wednesday, 23 August 2006, 02:05PM
 

ค่ะ   ต้องขอโทษ ที่เข้ามาอธิบายเสียยืดยาวทั้งๆที่หมาตัวเอง  ไม่ใช่บางแก้วสักหน่อย   เพราะคิดว่าคุณปารีณา ห่วงเรื่องการผ่าตัดแบบนี้  ว่าจะมีอันตราย หรือทำให้สถานการณ์แย่ลงสำหรับเรื่องข้อตะโพกของน้องฮัช     ส่วนตัวคิดว่า  หมาพันธุ์ไหนๆ ก็ไม่น่ามีความแตกต่างในเรื่องข้อดี/ข้อเสีย/หรือผลข้างเคียงค่ะ    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  หมาพันธุ์ใหญ่  น่าจะมีแนวโน้มความเสี่ยงสูงกว่าเสียด้วยซ้ำ

เรื่องที่น่าห่วง  น่าจะเป็นขั้นตอน กระบวนการที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการผ่าตัด   เช่นการตรวจร่างกายโดยละเอียดก่อนนัดผ่าตัด  ว่าหมามีสภาพร่างกาย พร้อมที่จะรับการผ่าตัดหรือไม่  หมามีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบการทำงานภายในร่างกาย เช่นระบบเลือดหรือไม่  อย่างไร  การอดอาหาร อดน้ำ  การวางยาสลบแบบไหน  เหมาะสมกับหมาหรือไม่ อย่างไร ฯลฯ  

ถ้าเป็นโรงพยาบาล และหมอที่เชื่อถือได้ ก็คิดว่าไม่น่ามีปัญหาค่ะ 

รูปหมาที่เกิดมาพิการไม่มีสะบ้าเข่าขาหลัง(ขาหดงอใต้ก้นตลอดเวลา)ไม่มีวิธีแก้ไขได้  หมอบอกว่าไม่มีทางเดินได้  จะฉีดยาให้หลับตั้งแต่เล็ก  แต่ไม่ให้หมอฉีด เลี้ยงมาจนโต  ก็เดินไม่ได้จริงๆอย่างหมอบอก  แต่กระโดดไปไหนมาไหนได้ดี  และไปเร็วกว่าคนเสียอีก  เคยกระโดดไล่กัดคนแปลกหน้าที่เข้ามาในบ้านหลายครั้งแล้ว    ในรูป กำลังดมหาตามพื้นไล่จับตัวแมงกิน


ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย แม่แตงโม บ้านวัดไตรฯ - Wednesday, 23 August 2006, 04:14PM
 
แตงโมก็เคยได้รับการผ่าตัดกระดูกขามาเหมือนกันค่ะ กระดูกสะบ้าหลุดน่ะค่ะ เอ็กซ์เรย์ดูแล้วสาเหตุเกิดจากเบ้ากระดูกดื้น หมอเลยผ่าตัดคว้านเบ้ากระดูกให้ แล้วก็ใส่เอ็นเทียมยึดสะบ้าไว้ (ผ่า 29 มีนาคม 2549)ตอนนี้ผ่านมา 5 เดือนแล้วค่ะ ซ่าเหมือนเดิมแล้ว หมอบอกว่าอีกข้างก็เป็นเหมือนกัน(เกิดจากกรรมพันธ์) ก็รอให้มีอาการก่อนแล้วค่อยพาไปหาหมออีกที ตอนนี้ยังปกติดีอยู่ หมอบอกว่าไม่ให้วิ่งมาก(อย่าวิ่งบนพื้นลื่น...ที่บ้านเป็นปาเก้) อย่าให้กระโดดมาก(จะให้ห้ามยังไงล่ะคะ...ตอนเย็นพอกลับถึงบ้านที กระโดดจูบปากเลย) อย่าให้อ้วน(ตอนนี้ก็กินมั่งไม่กินมั่งไปตามเรื่อง) ไม่แนะนำให้ทำหมัน(กลัวอ้วน) ไม่แนะนำให้มีลูก(กลัวลูกมีปัญหา) ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องฮัชหายเร็ว ๆ นะจ๊ะ ตอนที่เค้าผ่าตัดเค้าน่าสงสารมากเลย ตอนฟื้นจากยาสลบน่ะ ไหนจะหิวจากการที่ต้องอดอาหารก่อนผ่า ไหนจะเมายา ไหนจะเจ็บแผลที่ผ่า ไหนจะรำคาญคอร่าที่ใส่กันกัดแผลอีก เดินกระเผลก ๆ อยู่นานเลยค่ะ ตอนนี้แตงโมอายุ 1 ปี 6 เดือน น้ำหนักคงจะประมาณซัก 15-16 กก.ได้มั๊งคะ
ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Wednesday, 23 August 2006, 04:31PM
 

ต้องขอบคุณทุกท่านที่มีเมตตาต่อสัตว์ นะคะ ไม่ทิ้งไม่ขว้างเขา ดิฉันมีสุนัขเป็นเพื่อนต้องเรียกว่าตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ และก็เลี้ยงมาหลายรุ่นแล้ว มาเจอโจทย์อย่างน้องฮัช ก็เลยเป็นวิตกจริตไปหน่อยนะคะ ขอขอบพระคุณคะ คงต้องเตรียมการก่อนการผ่าพอสมควร และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์หลังผ่า และช่วงพักฟื้น

ที่เราจะไปผ่านะคะ เป็นโรงพยาบาลเอกชน ชื่อโรงพยาบาลเอ็น พี คิดอยู่นานว่าจะปรึกษาเรื่องการเลือกหมอและโรงพยาบาลผ่าน เวบบอร์ดนี้ดีหรือไม่นะคะ ไปดูโรงพยาบาลมาแล้วคะ ก็ดูดีนะคะ และคุณหมอพัฒนาก็ดูมีเมตตานะคะ ไม่คิดว่าจะเปรียบเทียบเลือกโรงพยาบาล แต่ขอความมั่นใจอีกไม่ทราบว่าทำเสียมารยาท หรือจรรยาบรรณอะไรหรือเปล่านะคะ ถ้าเป็นอย่างนั้นดิฉันต้องขอกราบบอภัยมาด้วยนะคะ ไม่ได้มีเจตนาร้ายๆ อะไรเลยคะ เราเป็นห่วงน้องเขาจนวิตกจริตไปหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะสับสนช่างคิด

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย แม่แตงโม บ้านวัดไตรฯ - Wednesday, 23 August 2006, 04:51PM
  พาแตงโมไปผ่าที่โรงพยาบาลสัตว์เล็กจุฬาค่ะ ไปหาหมอตรวจดู เอ็กซ์เรย์แล้วหมอก็นัดผ่าเลย วันที่ผ่าก็ให้อดอาหาร 6 ชม. อดน้ำ 3 ชม. หรือไงนี่แหละ (จำไม่ได้แล้ว) หมอนัด 10.00 น. ไปถึงเค้าก็ให้ชั่งน้ำหนัก แล้วก็ให้เซ็นต์หนังสือยินยอมให้ผ่าตัด แล้วก็นั่งรอ พอดีวันนั้นมีผ่าหลายเคส แล้วก็เจอเคสยากด้วย เลยรอนาน(จนเค้าเริ่มหงุดหงิด...หิวมากกกกก)บ่ายโมงเข้าห้องผ่าตัด ก็อุ้มเค้าไปส่งบนเตียงเค้าให้ผูกปากไว้แล้วก็มีผู้ช่วยมาจับ 3 คน แล้วก็ให้เจ้าของออกไปรอข้างนอก ประมาณ 1 ชั่วโมง หมอก็มาเรียกบอกว่าหมอทำการผ่าตัดคว้านเบ้ากระดูกแล้วใส่เอ็นเทียมไว้ให้แล้วนะครับ ฉีดยาแก้ปวดไว้ออกฤทธิ์ประมาณ 24 ชม.แล้วก็ให้ไปชำระเงินค่าผ่าตัด(ค่าผ่าแตงโม 2,800.-บาท ไม่รวมค่าเอ็กซ์เรย์+ค่ายา ก่อนหน้านี้นะคะ)แล้วเอาใบเสร็จมารอรับเค้ากลับบ้าน นั่งรอสักพักเค้าฟื้นจากยาสลบ หมอก็เข็นเตียงออกมา..เค้าก็ลืมตามองแล้วผงกหัวขึ้น...สายตาตอนนั้นน่าสงสารมากเลยค่ะ..ประมาณตัดพ้อต่อว่า..พ่อกับแม่ทำไมให้เค้าทำกับหนูอย่างนี้.....(ผ่าขาขวาไปแล้ว) ตอนนี้เหลืออีกข้างไว้รอมีอาการค่อยว่ากันอีกที...แล้วจะส่งรูปแตงโมตอนผ่ามาให้ดูนะคะ  
ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย แม่แตงโม บ้านวัดไตรฯ - Thursday, 24 August 2006, 08:08PM
 
ส่งรูปแตงโมมาให้ดูค่ะ รูปแรกเมื่อกลับมาถึงบ้าน แล้วก็ต่อ ๆ มา จนถึงปัจจุบันค่ะ
ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Friday, 25 August 2006, 11:51PM
 

แตงโมหล่อจังเลยคะ และก็โชคดีนคะคะได้อยู่ที่ทุ่งหญ้าให้วิ่งได้ด้วย

คุณหมอบอกว่าจะผ่าผ่านขาหนีบด้านในของน้องฮัช ดูเหมือนแผลจะอยู่คนละด้านของน้องนะคะ

ขอบคุณคะ

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย แม่แตงโม บ้านวัดไตรฯ - Saturday, 26 August 2006, 12:43PM
 

แตงโมเป็นผู้หญิงค่ะ ไม่เห็นความงามของแตงโมเลยหรือคะ...ใคร ๆ ก็ชอบบอกว่าแตงโมหล่อเรื่อยเลย...สนามหญ้าที่วิ่งเล่นน่ะ เป็นสนามแถวบ้านน่ะค่ะ ไม่ใช่ที่บ้าน เสาร์-อาทิตย์ จะพาออกไปวิ่งเล่น  ตอนนี้เจ้าของเค้ามาสร้างบ้านแถวสนามแล้ว...แตงโมไม่มีที่วิ่งเล่นแล้วค่ะ ต้องใส่สายจูงตลอดปล่อยให้วิ่งเองไม่ได้แล้วค่ะ

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Saturday, 26 August 2006, 02:51PM
 

อย่างไรแตงโมก็ดูเท่นะคะ มีวงๆ ที่ตาด้วย เสียดายนะคะไม่มีสนามให้วิ่งแล้ว

ตอนนี้น้องฮัชกำลังอดน้ำอดข้าว เตรียมตัวขึ้นเขียงนะคะ  คงจะได้วิ่งเล่นเร็วๆ นี้


ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Saturday, 26 August 2006, 10:16PM
 

น้องฮัช ผ่าตัดเสร็จแล้ว เครียดและช่วงหลังผ่าก็เมายาเล็กน้อย แล้วก็ลำคาเข้าหัวลำโพงมากๆ โดยรวมก็ผ่านไปด้วยดี มีรอยตะเข็บที่ขาหนีบยาวข้างละ ประมาณนิ้วครึ้ง

กินยาอีก 1 เดือนคะ แล้วจะรายงานผลให้ทราบอีกทีเดือนหน้าคะ คงหายกันไปสักระยะนะคะ ฝากรูปน้องฮัชหลังผ่าตัดมาให้ดูสักสองรูปคะ


ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย น้องฮัช รูปหล่อ - Saturday, 26 August 2006, 10:19PM
 
อีกรูปคะ
ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย toetam s - Saturday, 26 August 2006, 10:51PM
  หายเร็ว ๆนะน้องฮัช..เพี้ยง...เอาใจช่วยเต็มที่เลย..พี่ต่อแต้มคับ.
ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย แม่แตงโม บ้านวัดไตรฯ - Monday, 28 August 2006, 04:00PM
 

หายเร็ว ๆ นะจ๊ะน้องฮัช....ตอนนี้ก็ต้องจำกัดบริเวณ อย่าให้วิ่ง อย่าให้เดินมาก เพราะเวลาเค้าลุกได้เค้าก็จะไปเล่นอย่างเดียว (อันนี้แม่แตงโมขอนินทา จริง ๆ แล้วแตงโมเป็นทอมนะ...ตอนออกไปวิ่งข้างนอกเค้าชอบยกขาฉี่ด้วยแหละ)

ตอบ: Hip Dysplasia in Dogs กับ การแก้ไขโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อก้อน Pectineus
โดย carnivore ...The Alpha Wolf - Wednesday, 23 August 2006, 01:38PM
 

ที่ยกตัวอย่างหมาตัวนี้นำมาเล่าให้ฟัง  เพราะเห็นว่าเป็นกรณีที่ใกล้เคียงกันมาก  และหมอแนะนำให้ผ่าตัดแบบเดียวกัน    ที่ไม่ได้พูดถึงการผ่าตัดแบบนี้ตั้งแต่โพสเรื่องนี้ครั้งแรก  ก็เพราะเคยมีท่านผู้(ทำท่าเหมือน)รู้บางท่าน  บอกว่า  วิธีนี้เขาเลิกใช้กันไปนานแล้ว(หมาตัวนี้ ผ่าตัดมาประมาณ สิบกว่าปีแล้ว)

อยากให้ทราบว่า  หมาตัวนี้  รับการผ่าตัดเมื่ออายุ 1 ปี   และขณะนี้  เขายังมีคุณภาพชีวิตที่ดีมาก  โดยที่อายุถึง 12 ปีแล้วค่ะ

รูปหมาที่บ้าน เป็นข้อตะโพกทั้งสองตัว  ตัวอยู่ใกล้กล้องคือตัวที่ผ่าตัดมา  อักตัวที่นอนอยู่ไกลๆนั่นก็เป็นข้อตะโพกหลุดข้างนึง  แต่ไม่ได้ผ่าตัด  เพราะไม่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว    ตอนนี้กำลังนอนพักผ่อนกัน  หญ้ารกๆที่เห็น  เป็นที่ว่างในบ้านที่ไม่ได้ทำเป็นสวนสวยๆเหมือนคนอื่น  ปล่อยไว้ตามธรรมชาติ  ให้หมาเข้าไปวิ่งเล่นบุกป่า


Click to enter http://www.bangkaew.com/elearning3

Bangkaew.net and Bangkaew.org are for sale
See details at https://sedo.com/search/?keyword=bangkaew