ข้อมูลที่ค้างว่าจะเขียนให้นายน้อย...ได้อ่าน ก็ขออนุญาตเพิ่มเติมจากเมื่อคืนครับ งง ๆ เหมือนกันเพราะรำพันใต้เงาจันทร์เท่านั้นเอง เห็นบทความเพราะ ๆ ก็เลยส่งให้สหายทั้งสอง(ที่เป็นจอมยุทธ)ครับ
สำหรับหนังสือน่าอ่านของคุณพนมเทียน "เรื่องเหล็กไหล" สหายนายน้อย...ท่านอ่านแล้วหรือยัง น่าอ่านน่ะท่าน ลึกลับดีและสนุกมาก ทำให้คิดและวิเคราะห์ไปได้ต่าง ๆ นานา จริงหรือไม่จริง เมื่อคืนพี่ลี้เกือบทำให้ Hard disk(ที่อยู่ในหัว)พัง ข้อมูลนวนิยายจีนของท่านโก้วเล้งนั้นอยู่ลึกมากและพื้นที่บางส่วนก็ Error ไปแล้ว(ลืม) คืออ่านมาพร้อม ๆ กับเพชรพระอุมาน่ะท่าน นึกเรื่องบางเรื่องก็ยังนึกไม่ออกว่าชื่ออะไร ดียังเก็บหนังสือเล่มนี้(มีเพียงเล่มเดียวในบ้านที่กล่าวถึงท่านกู่หลง)ไว้จึงสามารถตอบให้พี่ลี้ได้ เกินจากนี้ไป คงต้องกลับไปยืมหนังสือเช่ามาอ่านใหม่ ยากสุด ๆ เลยท่าน นัยแต่ละเรื่องเต็มไปหมดและผูกกันตลอด มีดบินจากเล่มนี้ไปโผล่อีกเรื่องหนึ่งว่าเป็นศิษย์พี่ลี้ ฯลฯ อ่านอีกทีคงสลบครับ
เอาล่ะขอตอบที่ค้างเสียที................. อายุของเค้าทั้งคู่เกือบจะครบ 2 ปีแล้วล่ะท่าน สำหรับเจ้าด่างนั้นจะอยู่ในห้องครัว(มีประตูปิดกั้น)และบริเวณหลังบ้าน กลางคืนก็ต้องให้เข้ามานอนในบ้าน โดยจัดบริเวณให้อยู่กัน นางสาวตัวดีอยู่ในบ้านและหน้าบ้าน เสาร์ อาทิตย์ไหนเจ้าตัวยุ่งกลับมาก็แบ่งกันตัวละครึ่งบ้าน 555สนุกสนานน่าดูครับ เดินไปไหนก็จะมีสุนัขไทยเหล่านี้มาคลอเคลีย กลิ่นตัวพวกเค้าจะติดกางเกง พอสลับที่ไปก็จะต้องคอยมาดมกลิ่นใหม่ ๆ กันตลอด ออกนอกบ้านเจอพวกเจ้าตูบน้อย ตูบใหญ่ก็จะมีการเข้ามาดม กลายเป็นกลิ่นเราเป็นกลิ่นพวกเค้าอีกกลุ่มหนึ่ง เรื่องการหอนของสุนัขบางแก้ว ก็มีสหายนายน้อย...นี่แหละ ที่ได้ทำการสังเกตค่อนข้างมาก และได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานให้หลาย ๆ คนได้อ่าน รายละเอียดที่ไม่ค่อยมีใครได้กล่าวถึง สำคัญมากนะท่าน เพราะถ้าจะศึกษาพฤติกรรมเค้าอย่างละเอียด การสื่อสารด้วยการหอน จะต้องมีความหมายและแสดงความนัยให้พวกเราได้รู้ สารคดีต่างประเทศที่ท่านดู จะเห็นได้ว่ามีการแยกเสียงหอนและตีความหมายกัน ที่จริงแล้วท่านน่าจะออกความเห็นและตีความหมายการหอนของเจ้าตัวยุ่งที่มีหลายเสียงนั้นออกมา ให้ทุกคนได้พิจารณากันและเป็นการบันทึกไว้ ให้ผู้ที่สนใจและต้องการศึกษาพฤติกรรมของสุนัขบางแก้ว ที่จะกระทำกันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์(มีเครื่องมือ)ในอนาคต ได้รับรู้ว่ามีผู้สนใจ ได้ศึกษารายละเอียดพฤติกรรมการหอน และมีการตีความเสียงหอนเค้าออกมาไว้บ้างแล้ว(อย่าลืมน่ะนายน้อย...คง ต้องเขียนอธิบายเรื่องเสียงหอนออกมา เช่น มีกี่แบบ หอนสั้น หอนยาว จังหวะในการหอน หรือน้ำเสียงเป็นอย่างไร หอนตอนไหน เราตีความว่าอย่างไร ฯลฯ) ถูกหรือผิดนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ อย่างน้อยก็จะเป็นแนวทางให้กับผู้ที่จะศึกษา ฯ นำข้อมูลนี้ไปตรวจสอบอีกที 5555อุ่นใจครับอย่างน้อยก็มีข้อมูล(จากการศึกษาจริง)ไว้อ้างอิงได้ เรื่องการเห่า ข้า ฯ ก็อ่านมาเหมือนท่าน แต่จะมีประโยชน์อะไรล่ะท่าน ถ้าบอกว่าเจ้าของสามารถจำเสียงของการเห่าของเค้าได้ ข้า ฯ ก็สามารถบอกได้ว่า ข้า ฯ ก็จำเสียงเห่าของเค้าได้ทุกตัวและทุกอารมณ์ แต่เสียใจอธิบายออกมาไม่ได้ ดังนั้นพฤติกรรมการสื่อสารด้วยการเห่าหรือหอนจึงก็ต้องมีการบันทึกครับ(ถ้าจะศึกษาในเรื่องพฤติกรรมอย่างละเอียด) พวกวิจัยสัตว์หรือพืช ในต่างประเทศ(ถ้าได้ดูจากสารคดี)ถึงมีความละเอียดกันอย่างมาก ทำด้วยใจรัก ใช้เวลาและลงทุนกันสูง ขอยกตัวอย่างเรื่องการศึกษาเรื่องกล้วยไม้ป่าของไทย นายน้อย....ทราบมั้ยครับ คนที่ทำการศึกษาด้านอนุกรมวิธานนั้นเป็นชาวต่างประเทศ ใช้เวลาค่อนชีวิตและเวลาที่เหลืออยู่ เพื่อการศึกษากล้วยไม้ไทยและบริเวณใกล้เคียง มีตำรากล้วยไม้ไทย(พันธุ์พื้นเมือง)ไม่ต่ำกว่า 30 เล่มแยกแยะอย่างเป็นระบบ (ราคาหนังสือตัวจริงรวมทั้งหมด-แต่หาได้ยากมาก ตอนนี้คงไม่ต่ำกว่าสองแสนบาทแล้วครับ) พวกเรากันเองทำได้ แต่ไม่เท่าท่านเหล่านี้ครับ หลายท่านที่มาทำงานวิจัยให้กับพวกเรา ก็เอาชีวิตมาทิ้งที่เมืองไทยและฝังร่างไว้ที่นี่ครับ เพลินไปหน่อย เลยนอกเรื่องออกไป ขออภัยครับ |