ตอบ: หญิง(ชรา)กับหมาบางแก ้ว_๔ | |
แก่ความรอบรู้...ต่างหากครับนายน้อย...มี web มาฝากพี่ลี้ด้วยล่ะครับ http://dsc.discovery.com/news/afp/20040802/dingo.html สุนัขไทย จากภาคใต้ของประเทศไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับดิงโกทั่วออสเตรเลีย เดี๋ยวคงแปลให้อ่านกัน คงไม่ละเมิด ฯ อะไรใช่มั้ยครับ ถ้าพี่ลี้ตกลงก็จะแปลมาให้ครับ ไว้กับกระทู้หญิงชรา(ไปด้วยความรู้)นี่แหละ ข้อมูลเหล่านี้จะไปสอดคล้องที่อาจารย์ม.ร.ว. ศึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เคยเขียนไว้ รวมทั้งที่ท่านอาจารย์ดร. สุรวิช ได้เคยวิเคราะห์เรื่องเกี่ยวกับสุนัขไทยให้เราได้อ่านกัน จะไปเกี่ยวกับสุนัขบางแก้วหรือไม่ต้องพิจารณากันเองครับ อีก 2-3 วันน่ะนายน้อย...จะแปล แล้วมาแจมด้วยในกระทู้ เสียดายคนที่ทำงานวิจัยชิ้นนี้ มีหยิบ DNA ของสุนัขบางแก้วหรือหมาบนดอยสูง(แม้ว)ไปตรวจด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้ น่าจะมีน่ะ(ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียด) แต่จะพยายามค้น ๆ ดูอีกทีในรายละเอียด ชุดของคนอเมริกาทำไว้เค้าบอกหมด ว่ามีสุนัขอะไรบ้าง คงต้องค้นต่อไป นังตัวดีของข้า ฯ รวมทั้งเจ้าตัวยุ่งของนายน้อย...มีแต่ความลึกลับ ไม่ธรรมดา อยู่กับคนไทยคงมานานหลายพันปี คนอเมริกาที่ได้เห็นสุนัขสายนี้ยังบอกว่า การเลี้ยงเค้าจะมองแค่สายสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันนั้นคงไม่ได้ แต่ต้องมองให้ลึกลงไปถึงจารีต ประเพณี ฯลฯ ค้น ๆ อ่านดูแล้วเค้าคิด ลงไปลึกมาก ถึงว่ามองตาเจ้าตัวยุ่งหรือเจ้าด่างที่แสนดีแล้วรู้สึกถึงความลึกลับ วันก่อนเจ้าตัวยุ่งออกเดินหน้าบ้าน สุนัขที่ไม่ใช่เจ้าถิ่น พอเห็นเค้าเท่านั้นเดินหนีกลับบ้านกันหมด สังเกตดูแล้วก็แปลกใจ ลึกลับดียิ่งกว่านิทรานครเสียอีก ทำไมหนอยังคิดทิ้งพวกเค้าได้ลงคอ สายพันธุ์ของเค้าแท้จริงแล้ว เค้าเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องง้อพวกเรา แต่ทำไมถึงยังมอบความภักดีให้กับพวกเราอยู่ สงสัยจริง ๆ มันตรัย |
ตอบ: หญิง(ชรา)กับหมาบางแก ้ว_๔ | |
เห็นด้วยกับป้าวิครับ เชพเพอดกับหมาไทย ๆ ก็ยิ่งแปลก ๆ บางครั้งก็เล่นกันอย่างสนุกสนานเหมือนเพื่อนกัน เคยเจอก็คือเจ้าหมาไทยพาเจ้าเชพเพอดออกเที่ยว(ท่องโลก-หนีออกจากบ้าน) 555ครื้นเครงกันน่าดู มันน่ารักดีครับ ที่จะแปลบทความเรื่องสุนัขไทยในงานวิจัยของชาวต่างชาติ แปลเสร็จแล้วครับพี่ลี้ ดีไม่ดีอย่างไรพี่ลี้คงต้องพิจารณา มีปัญหาอย่างไร(ลิขสิทธิ์ ฯ) ลบได้เลยน่ะครับ แต่คงไม่น่ามีปํญหาอะไรเพราะน่าจะอยู่ในบทความด้านการศึกษาที่น่าจะเผยแพร่ได้ ดิงโกมีบรรพบุรุษที่เป็นสุนัขเลี้ยง รายงานโดย Heather Catchpole วันที่ 3 สิงหาคม 2004 ดิงโก, สุนัขป่าของประเทศออสเตรเลีย, เป็นสุนัขที่มีบรรพบุรุษที่มาจากสุนัขเลี้ยงของเอเชีย, ไม่ใช่เป็นสุนัขป่า(Wolf) ตามที่มีอยู่ในรายงานวิจัยของหลาย ๆ ประเทศได้เคยได้รายงานมา ดิงโกทั้งหมดอาจจะมาจากบรรพบุรุษที่เป็นสุนัขตัวเมียที่ตั้งท้องเพียงตัวเดียว ที่มีชีวิตอยู่ประมาณ 5000 ปีที่แล้ว และเดินทางมาถึงทวีปออสเตรเลียโดยทางเรือ นักวิจัยชาวสวีเดน Peter Savolainen จาก The Royal Institute of Technology ในสตอกโฮม ได้นำงานวิจัยของเขาและคณะ ออกมาเผยแพร่ในหนังสือนิตยสารหรือวารสาร(ไม่แน่ใจ-ผู้แปล) ที่ชื่อว่า Proceeding of National Academy of Science ดิงโกมองดูเหมือนสุนัขเลี้ยง แต่มีบางสรีระและพฤติกรรมที่สำคัญ ๆ แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น ดิงโกจะผสมพันธุ์เพียงปีละครั้งและมีการสื่อสารกันด้วยการหอนมากกว่าการเห่า ดังนั้นจึงได้มีข้อถกเถียงกันว่า ดิงโกมีความสัมพันธ์โดยใกล้ชิดกับสุนัขป่า (Wolf) มากกว่าสุนัขเลี้ยง การวิจัยครั้งล่าสุดนี้ ได้ทำการวิจัยเปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงของ DNA ที่อยู่ในไมโตรคอนเดรีย (mtDNA) ในสุนัขดิงโก, สุนัขป่า และสุนัขที่ดูว่าจะมีความสัมพันธ์กับสุนัขดิงโก ไมโตรคอนเดรีย DNA สามารถพบได้ภายในเซล ในส่วนที่เฉพาะเป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน, คือส่วนนี้เป็นส่วนที่สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมจากแม่มาสู่ลูกสาว และเป็นเครื่องมือของนักชีววิทยาใช้ในการหาร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อหาเงื่อนงำพันธุกรรมของบรรพบุรุษ นักวิจัยได้เปรียบเทียบ mtDNA ของสุนัขดิงโกออสเตรเลีย 211 ตัวกับสุนัขทั่วโลก 676 ตัว, สุนัขป่า Eurasian 38 ตัวและ 19 ตัวอย่างของ mtDNA จากกระดูกของสุนัขที่อาศัยในช่วงเวลา pre-European ในเกาะของ Polynesia ผลของงานวิจัยได้แสดงถึง ดิงโกไม่ได้มีบรรพบุรุษที่มาจาก สุนัขป่า ที่มีชื่อว่า Indian หรือ Arabian wolves ดังเช่นแนวคิดที่มีมาก่อนหน้านี้, นี้เป็นคำกล่าวของทีมงานวิจัยออสเตรเลีย Alan Wilton และคณะของเขา จากมหาวิทยาลัย New South Wales ใน Sydney ดิงโกทั้งหลายมีบรรพบุรุษมาจาก สุนัขเลี้ยงที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยและประเทจีน ที่มาถึงออสเตรเลียโดยทางเรือ, Wilton ได้กล่าวว่า ดิงโกดูเหมือนอย่างมากกับสุนัขที่พบเห็นได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเค้ายังได้กล่าวอีกว่า พวกมันทั้งหลายยังคงเหมือนสุนัขที่เลี้ยงเมื่อ 5000 ปีที่แล้ว ลักษณะรูปร่างของพวกเค้าก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเลย นี่คือคำกล่าวของ Wilton การวิเคราะห์ mtDNA นั้นได้แสดงให้เห็นถึง สุนัขเพศเมียที่ตั้งท้องเพียงตัวเดียว, หรือจากสุนัขตัวเดียวที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสุนัขดิงโก ในสุนัขเลี้ยงจะมีการแบ่งแยกชนิดของ mtDNA ออกมาได้อย่างมากมาย แต่ที่พบในสุนัขดิงโกทั้งหมดนั้นมาจาก mtDNA ชนิดเดียวเท่านั้น, Wilton ได้บอกกับ ABC Science Online เราเรียกมันว่า Genetic bottleneck เขาได้กล่าว เป็นการอ้างถึงความโน้มเอียงสำหรับความแปรปรวนทางพันธุกรรมที่ไม่มากนัก, ถ้าสัตว์นั้นมีการผสมพันธุ์กันในเฉพาะกลุ่ม และอยู่ในพื้นที่ ๆ เข้าไปตั้งรกรากอยู่เป็นการเฉพาะกลุ่มของเค้า(ดั่งเช่นทวีปออสเตรเลีย-ผู้แปล) แล้วมีการเปรียบเทียบกับหลักฐานทางโบราณคดี(ซาก fossil)กันอย่างไร ? นักโบราณคดีที่เป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้ชำนาญในซาก fossil ของดิงโก, Collin Pardoe ได้กล่าวว่า ผลของงานวิจัยครั้งนี้ไม่ได้ทำความประหลาดใจและยังสอดคล้องกับหลักฐานของซาก fossil เริ่มแรกของซาก fossil ของดิงโกนั้นมีอายุประมาณ 3000 3600 ปี แต่อย่างไรก็ตามสามารถมีอายุได้มากถึง 5000 ปี, Pardoe ได้กล่าวว่าการวิเคราะห์ mtDNA นั้นเป็นข้อแนะนำได้ว่าโดยปกติบรรพบุรุษของสุนัขเลี้ยงนั้นมีชีวิตอยู่เมื่อ 5000 ปีที่แล้ว ในส่วนที่เหลือของซากกระดูกที่พบในทวีปออสเตรเลียนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของอายุอยู่ในช่วง 4000 5000 ปีที่ผ่านมา, Pardoe ได้กล่าว ในเวลานั้น, กระดูกได้มีการถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ มีการหักและแตกละเอียด เป็นเครื่องชี้ได้อย่างหนึ่งว่ามนุษย์มีการกินเนื้อสัตว์เพื่อการดำรงชีพ ถูกทำลายลงอย่างสมบูรณ์ เขาได้กล่าว มันจึงค่อนข้างจะชัดเจนว่าสุนัขนั้นได้มาถึงดินแดนแห่งนี้ในเส้นทางเดียวกัน ดิงโกยังเป็นผู้แข่งขันในเรื่องของอาหารกับสัตว์ท้องถิ่นด้วย, คือ Thylacines หรือเสือ Tasmanian, ที่เคยแพร่กระจายที่ไปสู่การสูญพันธุ์บนทวีปของออสเตรเลียเมื่อ 4000 ปีที่แล้ว Thylacines ได้หายไปในเวลาที่ต่างกันบนแผ่นดินทวีปออสเตรเลีย, ครั้งแรกก็ทางเหนือแล้วต่อมาก็ทางใต้ Pardoe ได้กล่าว Thylacines บางตัวมีชีวิตในตอนใต้ของเกาะรัฐ Tasmania, ที่ ๆ ดิงโกนั้นไม่สามารถไปถึง, และแล้ว Thylacine ที่ถูกเก็บไว้ตัวสุดท้ายก็ได้ตายลงในปี 1936 การเป็นสัตว์เลี้ยงของดิงโกและข้อเท็จจริงที่ว่า มันเป็นสุนัขที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมที่มากนั้นเป็นการช่วยให้ได้รับการครอบครองพื้นที่ทั้งหมดไปจาก Thylacines, Pardoe กล่าว มันเป็นพื้นฐานที่ดีมากที่มีอยู่ในตัวของสุนัข เขาได้กล่าวทิ้งท้าย (ที่มา : แปลจาก http://dsc.discovery.com/news/afp/20040802/dingo.html) เรื่อง DNA สามารถอ่านได้ง่าย ๆ จาก http://www.elib-online.com/doctors/dna.html ผิดพลาดอย่างไรไปต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ มันตรัย |
ตอบ: หญิง(ชรา)กับหมาบางแก ้ว_๔ | |
เรียนป้าชัชที่เคารพ ในรายงานวิจัยเค้าไม่บอกว่าเป็นพันธุ์อะไรครับ แต่น่าจะเป็นเจ้าพวกหูตั้ง(สุนัขไทยทั้งหลายครับ) คงต้องให้คุณลุงแปลเพิ่มแล้วล่ะครับ ถ้าป้าชัชจำได้ที่ให้ไว้คือเรื่อง The Origin of the Domestic Dog ที่ web http://www.ualberta.ca/~jzgurski/dog.htm ถ้าอ่าน ๆ ดู Dr. Peter Savolainen ทำงานวิจัยแค่ปี 2002 แต่พอค้นไปค้นมากลับไปพบว่าปี 2004 ก็ออกงานวิจัยมาอีกชุดลองดูที่ web นี้น่ะครับ http://www.pnas.org/cgi/content/full/101/33/12387 สำหรับงานวิจัยปี 2002 วันนี้ web. ใจร้าย ไม่ยอมให้เข้าไป link ครับ(แต่สามารถค้นได้ครับ) ท่านอาจารย์ที่กำแพงแสน (ศชก.) น่าจะอ่านงานวิจัยเหล่านี้ได้อย่างเข้าใจ ผมเองอ่านแล้วมึนไปหมด(ไม่เข้าใจในวิธีการ) แต่ก็หวังว่าสักวันหนึ่งคงมีงานวิจัย เปรียบเทียบสุนัขไทยทั้งหมดอย่างนี้บ้าง 555 เอาหมาบนดอยสูง(แม้ว)ไปตรวจ DNA ด้วยก็ดี จะได้รู้ว่าเป็นบรรพบุรุษของสุนัขบางแก้วด้วยหรือเปล่า อ่านบทความเหล่านี้แล้วยอมรับว่า วันนี้ความคิด(ความคิดเห็นส่วนตัวน่ะครับ)เกี่ยวกับวิวัฒนาการของสุนัขบางแก้วในหัวเปลี่ยนไปหมด dhole และ jackal ที่มีอยู่ในประเทศไทยคงไม่ได้มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องอะไรเลย ยิ่ง wolves ด้วยแล้วยิ่งไม่น่าจะใช่เลย(บ้านเราไม่มี) ที่เหลือก็มีอยู่พันธุ์เดียวก็คือสุนัขไทย 5555 แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอีกมากมายโยงไปเรื่อยเปื่อยครับ อันนี้เค้าสัมภาษณ์ Dr.คนนี้กับนักโบราณคดีของออสเตรเลีย เมื่อชุดงานวิจัยปี 2002 ออกมา(Genetic Evidence for an East Asian Origin of Domestic Dogs) http://www.abc.net.au/rn/science/ss/stories/s728909.htm การบ้านของคุณลุงหรือเปล่าก็ไม่รู้ จริง ๆ แล้วข้อมูลมันโยงมาตั้งแต่ท่านอาจารย์ศึกฤทธิ์เขียนในหนังสือคนรักหมา ที่มีงานวิจัยของ Dr. konrad Lorenz ผ่านงาน "วิเคราะห์สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน" ที่ท่านอาจารย์สุรวิชได้เคยเขียนไว้ว่า "สุนัขบ้านในยุคหินใหม่นั้นเป็นสัตว์เลี้ยงที่ชนชาติไทยได้นำติดมาจากดินแดนแถบประเทศจีน เนื่องจากโครงกระดูกสุนัขนั้นมีลักษณะคล้ายโครงกระดูกสุนัขป่าที่พบในประเทศจีนนั่นเอง" วันนี้555งานวิจัยของต่างประเทศก็สรุปเช่นนี้(บ้านเราสรุปได้ก่อนเสียอีก) ป้าชัชคงต้องคุยให้อาจารย์ท่านวิเคราะห์สุนัขบางแก้วของเราต่อแล้วล่ะครับ น่าสนใจที่สุดสำหรับมิตรตัวน้อย(เจ้าตัวยุ่งของเรา)ครับ ผู้น้อย(ครูพักลักจำ)เช่น ผมและสหายน้อย...คงรออ่านข้อมูลจากป้าชัชอย่างใจจดใจจ่อแล้วล่ะครับ เคารพ |
ตอบ: หญิง(ชรา)กับหมาบางแก ้ว_๔ | |
คุณน้อยหน่า นายพรานไปไหนหรือ ถ้านายพรานแวะเวียนมาอ่าน ก็สามารถมาร่วมพูดคุยได้ ถ้าไม่อยากสมัครสมาชิก ก็ใช้ชื่อและรหัส test และ test ล็อกอินเข้ามาพูดคุยได้ แต่ต้องระบุตนเองให้ชัดเจนนะ เดี๋ยวคนอื่นจะสวมรอย ผมเอาตอนที่ 6 ไปแปะไว้ที่กำแพงข่าวในโรงเตี้ยมแล้ว เรื่องชื่อนั้น ค่อยว่ากันอีกที อยากให้คุณอาทรหรือคุณเพื่อนบางแก้วคุยกับคุณไพโรจน์ดูว่าชมรมไทยบางแก้วพอมีงบจัดพิมพ์บ้างไหม ถ้ามีจะได้พิมพ์ออกมาแจกจ่ายในงานที่สวนสามพรานตอนปลายปี ถึงตอนนั้น ค่อยมาคิดเรื่องชื่อที่โดนใจคนกันอีกที และป้าวิ ป้าชัช คุณอาทร คงได้ช่วยกันเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น |
ตอบ: หญิง(ชรา)กับหมาบางแก ้ว_๔ | |
ไล่ค้นตามแบนเนอร์ด้านข้างในหน้าแรกแล้ว ยังไม่เจอเลย ไม่รู้อยู่เว็บไหน เว็บที่เกี่ยวกับบางแก้วที่ตั้งกระทู้ได้ก็มีไม่กี่แห่ง ช่วยบอกหน่อยได้ไหม จะได้ไปแนะนำเขาให้ทำให้ถูกต้อง ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งให้ท่านอื่นๆได้เข้าใจ บางท่านอาจทำไปด้วยความหวังดี โดยไม่ได้คิดให้ลึกซึ้งพอ และข้อมูลจากโรงเตี้ยมที่ว่า ใช่ลิงก์นี้หรือเปล่า บรรพบุรุษ สุนัขบางแก้วแท้จริงคือพันธุ์ใด ช่วยกันวิเคราะห์ที ถ้าไม่สะดวก เดี๋ยวผมจะลบให้ครับ |