ตอบ: เวทีประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ใครมีไอเดียบ้าง | |
ใครช่วยขายยให้คุณเพื่อนหน่อยครับ คุณวิเชียร อยู่ไหนครับ ตอบที ผมว่านะ ก็บางแก้วดีๆงัย 555 |
ตอบ: เวทีประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ใครมีไอเดียบ้าง | |
ผมเสนอให้ แต่ไม่ขอตอบนะ....อยากได้ไอเดียจากคนอืนบ้าง พวกผมมัน คนรักบางแก้ว ช่วยๆกันหน่อย ในนี้มีอีกเยอะแยะ ก็ลองซาวเสียงดู... |
ตอบ: เวทีประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ใครมีไอเดียบ้าง | |
เมื่อวาน ไปซื้อเพ็ทนิวส์จากร้านในห้างโลตัสอ่อนนุชมาอ่าน ต้องชมคุณสุริยาว่า แม้เล่มจะบาง แต่ก็แน่นด้วยเนื้อหาสาระ เจาะลึก เห็นคุณธนาได้ให้ความเห็นไว้ว่าการประกวดบางแก้วต่อจากนี้ไปจะเป็นการประกวดในกรุ๊ป 5 เพื่อผลักดันบางแก้วสู่สากล ให้ได้รับการรับรองโดย FCI อะไรทำนองนี้ ซึ่งผมก็ยืนยันในกระทู้เก่าแล้วว่าเห็นด้วยอย่างยิ่ง (http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/discuss.php?d=1015&parent=8620) ขณะเดียวกัน ก็คิดว่า ไม่มีใครคัดค้านเรื่องการประกวดบางแก้วเฉพาะสายพันธุ์ในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นมายาวนาน แต่เท่าที่ติดตาม คนอาจจะยังไม่คุ้นเคยและไม่พาหมามาประกวดในเวทีกรุ๊ป 5 มากนัก ด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เช่น ไกล เดินทางลำบาก ค่าใช้จ่ายสูง และที่สำคัญ ผมคิดว่า โอกาสจะชนะมีน้อย เพราะเป็นการชิงที่ 1 ตำแหน่งเดียว และอาจจะต้องมาประชันกับดาวค้างฟ้าผู้ไม่ยอมลงจากเวทีสักที แถมยังมีความไม่มั่นใจในกรรมการผู้ตัดสิน (เจอกรรมการไทย ก็บอกว่า ไม่รู้เป็นพวกใคร เจอกรรมการต่างชาติ ก็บอกว่า แล้วจะรู้เรื่องหมาไทยได้อย่างไร) ก็เลยคิดว่า น่าจะมีเวทีที่ให้กำลังใจกับผู้เข้าประกวดว่าสุนัขเขาถ้าเข้าเกณฑ์ก็มีโอกาสจะได้รางวัลเป็นสุนัขดีเด่นแห่งชาติเหมือนกัน(เพราะมีได้หลายตัว) โดยใช้กรรมการไทยหลายๆท่านร่วมกันให้คะแนน อันจะนำไปสู่ความเข้าใจกันมากขึ้น และจำนวนสุนัขที่จะมาร่วมประกวดในกรุ๊ป 5 ก็คงจะมีมากตามมา ผมเห็นด้วยกับคุณเพื่อนบางแก้วว่า อย่างน้อยปีละครั้ง ต้องขอความร่วมมือให้มาประกวดในกรุ๊ป 5 กันหน่อย อาจเป็นงานใหญ่ที่จัดโดยชมรมไทยบางแก้วที่สวนสามพรานตอนเดีอนธันวาเป็นประจำทุกปี ดังนั้น งานประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ ควรจะมีก่อนหน้านั้น เช่นเดือนตุลา อากาศไม่ร้อน ขนกำลังสวย แต่ถ้าติดสัด เป็นฮีท อย่างที่คุณชวลิตเป็นห่วง ก็อย่าได้นำมา หรือจะไปใช้บริการคลายเครียดที่บ้านโกชุน ก็ไม่ว่ากัน ( http://www.bangkaew.com/elearning/mod/forum/discuss.php?d=1025 ) สถานที่อาจเป็นตรงกลาง เช่น แถวๆ ลพบุรี โคราช นครสวรรค์ หรือ จะจัดสลับกันกรุงเทพ พิษณุโลก คนละปีก็ได้ |
ตอบ: เวทีประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ใครมีไอเดียบ้าง | |
เรื่องเกณฑ์การตัดสิน ขอยกข้อเสนอของคุณพสุธามาเป็นแนวทางให้พิจารณากัน คัดจากรายวิชาของคุณพสุธา ล็อกอินเข้าไปอ่านต้นฉบับได้ที่ http://www.bangkaew.com/elearning/file.php/33/moddata/forum/68/1013/Standard_VS_Criteria.doc มาตรฐานพันธุ์ VS เกณฑ์การตัดสินการประกวด เรียบเรียงโดย : นายพสุธา พันธุ์สาย
เนื่องจากขณะนี้สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้รับความนิยมในหมู่คนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสนามประกวดสุนัข เราจะเห็นสุนัขบางแก้วเข้าร่วมประกวดกันอย่างมากมาย ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ว่าในระยะหลังๆนี้กลับมีข่าวคาวที่ไม่น่าจะเกิดผลดีกับสุนัขบางแก้วเลย เช่น สุนัขที่ได้รับรางวัลเป็นสุนัขของกรรมการ, สุนัขที่ได้รับรางวัลซื้อมาจากกรรมการ, คราวนี้ผลการตัดสินเป็นแบบBest in Sure ฯลฯ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ผู้เรียบเรียงจึงนำเอามาตรฐานพันธุ์ VS เกณฑ์การตัดสินการประกวด ดังนี้ 1. มาตรฐานพันธุ์ มาตรฐานพันธุ์สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว(ฉบับปรับปรุง 14 ต.ค. 2544)
1. ลักษณะทั่วไป : เป็นสุนัขขนาดกลาง โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีสัดส่วนที่กลมกลืนประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีการเคลื่อนไหวที่แคล่วคล่อง พฤติกรรมทางอารมณ์ : ตื่นตัว ร่าเริง รักเจ้าของ เชื่อมั่นในตนเอง จิตประสาทมั่นคงไม่ขลาดกลัว ซื่อสัตย์ หวงแหนทรัพย์สิน ฉลาดปราดเปรียว กล้าหาญ สามารถฝึกใช้งานได้ ถิ่นกำเนิด : สุนัขบางแก้ว เป็นสุนัขไทยพันธุ์หนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่บ้านบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย 2. กรุ๊ป (Group) : Spitz and Primitive Type 3. รูปร่าง : หนา ล่ำสัน เมื่อยืนหยัดขาเหยียดตรง ตั้งได้ฉากกับพื้น คอยก หน้าตั้ง 4. หัว : ค่อนข้างใหญ่ ได้สัดส่วนกับลำตัว 5. จมูก : มีสีดำ ขนาดได้สัดส่วนกับปาก ดั้งจมูก (Stop) มีมุมหักเล็กน้อย 6. ปาก : ยาวปานกลาง โคนปากใหญ่ เรียวจรดปลายจมูก 7. ฟัน : เล็กและแหลมคม ขนกันแนบสนิทแบบกรรไกร (Scissors Bite) โดยฟันบนเกยอยู่ด้านนอก อนุโลมให้ฟันขบเสมอ (Level Bite) กันพอดี สุนัขโตควรมีฟันครบ 42 ซี่ 8. ตา : เล็ก คล้ายเมล็ดอัลมอลด์ (Almond) มีสีน้ำตาล 9. หู : เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็ก ได้สัดส่วนกับหัว ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหูและหลังใบหู 10. คอ : ใหญ่ ล่ำสัน รับกับหัว และช่วงไหล่ มีแผงขนยาวรอบคอ 11. หลัง : เส้นหลังตรง 12. อก : กว้างและลึก ได้ระดับกับข้อศอก 13. สะโพก : ใหญ่และแข็งแรง ส่วนหลังมีขนยาวลามมาจนถึงข้อขาหลังท่อนบน 14. หาง : โคนหางใหญ่ ขนหางเป็นพวง ปลายโค้งเข้าหาเส้นหลัง 15. ขาหน้า : ใหญ่กว่าขาหลัง เวลายืนเหยียดตรงและขนานกัน ข้อเท้าสั้นทำมุมเฉียงเล็กน้อย หลังขามีขนยาวลักษณะคล้ายแข้งสิงห์ 16. ขาหลัง : เล็กกว่าขาหน้า เวลายืนทำมุมพอเหมาะ มองจากด้านหลัง ข้อเท้าหลังตั้งได้ฉากและขนานกัน 17. เท้า : อุ้งเท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว มีขนยาวคลุมนิ้วเท้า 18. ความสูง : เพศผู้สูง 18 - 22 นิ้ว (46 - 56 ซ.ม.) เพศเมียสูง 16 - 20 นิ้ว (41 - 51 ซ.ม.) 19. น้ำหนัก : เพศผู้หนัก 19 - 21 ก.ก. เพศเมียหนัก 16 - 18 ก.ก. 20. ขน : ยาวปานกลาง มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียดอ่อนนุ่ม ชั้นนอกเส้นใหญ่เหยียดตรง ยาวคลุมบริเวณแผ่นหลัง 21. สี : ขาว-น้ำตาล, ขาว-ดำ, ขาว-เทา 22. ข้อบกพร่อง : มี 3 ระดับ 22.1 ข้อบกพร่องเล็กน้อย : ได้แก่ ฟันเหลือง 22.2 ข้อบกพร่องปานกลาง : ได้แก่ หางไพล่ ไม่มีแผงขนรอบคอ ไม่มีแข้งสิงห์ หูใหญ่ ปากใหญ่ ตาใหญ่ ตากลม หลังแอ่น หลังโก่ง 22.3 ข้อบกพร่องร้ายแรง : ได้แก่ ขนสั้นเกรียน จมูกสีอื่น ตาสีอื่น หูพริ้ว หูไม่ตั้ง ฟันบนยื่นล้ำฟันล่าง (Over Shot) ฟันล่างยื่นล้ำฟันบน (Under Shot) ฟันขาดเกินกว่า 3 ซี่ขึ้นไป ข้อสะโพกห่าง หางขอด หางม้วน หางไม่เป็นพวง หางขาด อัณฑะไม่ครบ ความผิดปกติทางจิตประสาท ที่มา : สวนจตุจักร ปีที่ 14 ฉบับที่ 157 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2544 หน้า 106-107
2. เกณฑ์การตัดสินการประกวดสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว โดยชมรมผู้อนุรักษ์และพัฒนาสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วพิษณุโลก ประเทศไทย 2.1 การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ส่วนที่ 1 ลักษณะประจำพันธุ์ 25 คะแนน ส่วนที่ 2 โครงสร้าง 25 คะแนน ส่วนที่ 3 การเคลื่อนไหว 20 คะแนน ส่วนที่ 4 สุขภาพร่างกาย 15 คะแนน ส่วนที่ 5 บุคลิกและอารมณ์ 15 คะแนน รวม 100 คะแนน 2.2 รายละเอียดการพิจารณา ส่วนที่ 1 ลักษณะประจำพันธุ์ 25 คะแนน พิจารณาดังนี้ 1. ปากแหลม : พิจารณาจากลักษณะปากยาวหรือยาวปานกลาง โคนปากใหญ่และเรียวจรดปลายจมูก มีความลึกพอสมควร 2. หูเล็ก : พิจารณาจากลักษณะหู มองดูเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็ก ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหูและใบหู ใบหูมีส่วนสำพันธ์กับกะโหลกมองดูสวยงามกลมกลืน 3. ขนยาว : พิจารณาจาก ขนมี 2 ชั้น ชั้นในละเอียดอ่อนนุ่ม ขนชั้นนอกเส้นใหญ่ เหยียดตรง ยาวคลุมแผ่นหลัง 4. หางพวง : พิจารณาจาก โคนหางใหญ่ ขนหางเป็นพวง ปลายโค้งเข้าหาเส้นหลัง (ดูจากปลายหางจริง ไม่ใช่ปลายขน) 5. แข้งสิงห์ : พิจารณาจาก ขนที่หลังขาหน้า มีลักษณะยาวคล้ายแข้งสิงห์ ส่วนที่ 2 โครงสร้าง 25 คะแนน พิจารณาดังนี้ 1. จตุรัส : พิจารณาจาก ลักษณะรูปทรงของลำตัว ความยาวตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลัง และความสูงตั้งแต่ปลายขาหน้าถึงไหล่ ยาวเท่ากัน 2. อกลึก : พิจารณาจาก ลักษณะอกมีความกว้างและ ลึกได้ระดับกับข้อศอก 3. หลังตรง : พิจารณาจาก แนวเส้นหลังมีลักษณะตรง ไม่โค้งงอหรือแอ่น 4. ขาฉาก : พิจารณาจาก ขาหน้ามีลักษณะใหญ่กว่าขาหลัง อุ้งเท้าคล้ายเท้าแมว มีขนยาวคลุมนิ้วเท้า ขาหน้าเวลายืนเหยียดตรงและขนานกัน ข้อเท้าหน้าทำมุมเฉียงเล็กน้อย ขาหลังข้อเท้าตั้งได้ฉากและขนานกันเมื่อมองจากด้านหลัง 5. กะโหลกใหญ่ : พิจารณาจาก กะโหลกศีรษะค่อนข้างใหญ่ได้สัดส่วนกับลำตัว 6. ตาเล็ก : พิจารณาจาก ตาเล็กคล้ายรูปสามเหลี่ยม มีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ส่วนที่ 3 การเคลื่อนไหว 20 คะแนน พิจารณาดังนี้ 1. หน้าเชิด : พิจารณาจาก ขณะยืน เดิน หรือวิ่ง ส่วนหัวจะเชิด มองดูสง่างาม 2. หางชู : พิจารณาจาก ขณะยืน เดิน หรือวิ่ง พวงหางจะชูขึ้นมองดูสวยงาม ไม่ห้อยลงหรือไพล่ลงข้างลำตัว 3. หูป้อง : พิจารณาจาก ใบหูป้องไปข้างหน้า ปลายหูไม่เบนออกด้านข้างของกะโหลกศีรษะ 4. ท้ายนิ่ง วิ่งเรียบ : พิจารณาจาก ขณะสุนัขวิ่ง มองจากด้านหลัง สะโพกจะไม่แกว่งไปมา มองจากด้านข้าง เส้นหลังจะดูเป็นแนวเส้นตรง 5. การสอดเกย : พิจารณาจาก การย่างก้าว ขณะเดินหรือวิ่ง การเคลื่อนไหวของเท้าหน้า-หลัง มีความสอดคล้องกลมกลืนเมื่อมองจากด้านข้าง และเมื่อมองจากด้านหลัง การก้าวย่างจะไม่ปัดแกว่งไปมา ส่วนที่ 4 สุขภาพร่างกาย 15 คะแนน พิจารณาดังนี้ 1. ตาใส : พิจารณาจาก สุนัขมีแววตาสดใส ตาไม่สกปรก 2. จมูกมัน : พิจารณาจาก จมูกมีลักษณะเป็นมัน ชุ่มชื้น ไม่แห้ง 3. ฟันครบ : พิจารณาจาก มีฟันครบ 42 ซี่ ขาดได้ไม่เกิน 3 ซี่ 4. ขนสะอาด : พิจารณาจาก ขนมีลักษณะอ่อนนุ่ม เป็นมัน ไม่หยาบกระด้างดูสกปรก 5. กล้ามเนื้อ : พิจารณาจาก กล้ามเนื้อแน่นแข็งแรง 6. ผิวหนัง : พิจารณาจาก ผิวหนังสะอาด ไม่มีโรคผิวหนัง ส่วนที่ 5 บุคลิกและอารมณ์ 15 คะแนน พิจารณาดังนี้ 1. ตื่นตัว : พิจารณาจาก สุนัขมีความตื่นตัว กล้าหาญ 2. ร่าเริง : พิจารณาจาก ความร่าเริง แจ่มใส 3. มีวินัย : พิจารณาจาก การเชื่อฟังเจ้าของ ที่มา : เอกสารประกอบการอบรมกรรมการการตัดสินการประกวดสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว โดยชมรมผู้อนุรักษ์และพัฒนาสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วพิษณุโลก ประเทศไทย |
ตอบ: เวทีประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ใครมีไอเดียบ้าง | |
ไม่รู้หรอนะว่ามันคืออารัยแต่อยากให้มีกิจกรรมเสริมด้วย เช่น มีเกมให้คนกับหมาทำร่วมกันและเพื่อนๆชาวบางแก้ว |
ตอบ: เวทีประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ใครมีไอเดียบ้าง | |
รออยู่ครับ รออาราย ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่ว่ารอ คนจัด จ้า |
ตอบ: เวทีประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ใครมีไอเดียบ้าง | |
เรื่องงานที่สวนสามพราน ได้ข่าวมาว่าชมรมไทยบางแก้วไม่จัด แต่ไม่รู้ว่าจะมีใครจัดหรือไม่ ถ้าสมาคมพัฒน์จะจัด คงต้องรีบประชาสัมพันธ์หาผู้เข้าประกวดตั้งแต่ตอนนี้ จะปล่อยให้เว็บร้างอยู่อย่างเดิมไม่ได้ http://www.kcthailand.com เรื่องการประกวดบางแก้วดีเด่นแห่งชาติ มีคนแสดงความเห็นเยอะพอสมควรถึง 118 ความเห็น ที่กระทู้ เส้นทางสู่ FCI ของ ThaiSpitz (Bangkaew) ฝันเสียไกล ไม่รู้จะไปถึงหรือเปล่าเนี่ย ถ้าพยายามไปอ่านเอาสาระมาใช้ประโยชน์ ก็คงจะทำอะไรได้บ้าง แต่ถ้าจะทะเลาะกับใครบางคนในนั้นให้จมธรณีไป ก็คงเหมือนคลื่นซัดฝั่งที่หายไปตามกาลเวลา เผลอๆ งานนี้ คุณชวลิตอาจจะอยากจัดก็ได้ แต่เกรงว่าคนจะให้ความร่วมมือน้อยเท่านั้นเอง ฝากคุณพชร รองประธานฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์หารือกับป้าชัชและท่านที่ปรึกษาทั้งหลายด้วยครับ อาจทำในนามของชมรมคนรักบางแก้วได้ โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ถ้าชมรมคนรักบางแก้วจัด เพ็ทนิวส์จะมาร่วมจัดด้วยไหม อาจเชิญหลายๆหน่อยงานมาร่วมจัดก็ได้ เรื่องการจัดสัมนาน่าจะมีผู้รับผิดชอบแล้วครับ ลองดูที่กระทู้ ชมรมฯจะเปิดสัมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้รื่องการเลือกซื้อและดุแลสุนัข แต่ผู้รับผิดชอบท่านออกจะเป็นคนขึ้เกรงใจผู้ใหญ่ กลัวว่าผู้ใหญ่จะมองไม่ดี หาว่าข้ามหน้าข้ามตา เลยชอบทำตัวโลว์โปรไฟล์ อยู่เงียบๆ ให้ความรู้น้องๆอยู่แต่ในเว็บ คุณคนรักบางแก้วก็ลองช่วยท่านดูหน่อยนะครับ อนาคตของท่านคือประธานชมรมไทยบางแก้วแน่ๆ คงไม่นานเกินรอ |