ประสพการณ์การตัดสินในต่างประเทศ |
ผมขอนำประสพการณ์ที่เคยไปตัดสินในต่างประเทศมาเล่าสู่กันฟัง ตามคำขอของ บก. KCT News ว่าน่าจะนำมาลงเป็นข่าวคราวให้สมาชิกได้ทราบบ้าง ซึ่งผมก็จะพยายามทำให้ดีที่สุดโดยจะขอเริ่มที่อินเดียก่อนเพราะได้ไปตัดสินมาแล้ว 4 ครั้ง
ที่อินเดีย เป็นการประกวดแบบกลางแจ้ง (Outdoor Show) ซึ่งเขาจะเริ่มจัดกันในเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป (เพราะอากาศในช่วงนี้จะไม่ร้อน บางเมืองทางตอนเหนือออกจะค่อนข้างเย็นมากจนหนาว)โดยให้ Club ต่างๆที่อยู่ในแต่ละเมือง (1 เมืองต่อ 1 club ยกเว้นที่ Culcatta ซึ่งเป็นเมืองใหญ่จะมีถึง 3 club) ซึ่งเขามีเป็นร้อย club จัดสลับกันไปทุกสัปดาห์ เช่นตัวอย่างเมืองที่ผมเคยไปตัดสินมา ได้แก่ Silchar KC (เมือง Silchar), Oudh KC (เมือง Lucknow), Delhi KC (เมือง Delhi) , Mysore KC (เมือง Banglore) เป็นต้น ภายใต้การรับรองของ KCI (Kennel Club of India)
ที่นี่เขาเลียนแบบ KC เพราะเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ กล่าวคือ สุนัขจะเป็นแชมป์ได้ต้องได้ 3 CC หรือ 6 Reserve CC, (1 CC = 2 RCC) แต่จะไม่มีรุ่นแชมเปี้ยนมาชิง BOB เหมือนบ้านเรา แชมป์ก็ยังต้องมาชิง CC ไปตลอด ซึ่งทำให้สุนัขบางตัวที่คุณภาพเหนือชั้นได้ CC ไปถึง 30 CC ก็มี
. ที่นี่จะไม่แจกรางวัล Reserve BOB แต่จะเป็นการแจกรางวัล BOS แทน สุนัขที่ได้รางวัล BOB และ BOS ทุก breed จะเข้าไปชิงกันในรอบ Best in Show โดยไม่มีการประกวดในรอบ Group ดังนั้น ในรอบชิง BIS จึงจะมีสุนัขเข้าชิงเฉลี่ยประมาณ 40 ตัว และรางวัลในรอบนี้จะให้สุนัขถึง 8 ตัว คือ BIS #1 จนถึง BIS #8
. คุณภาพสุนัขสู้บ้านเรายังไม่ได้ การจัดงานของเราทันสมัยกว่า การรับรองค่อนข้างไม่สดวกสบายเพราะไม่มีให้เลือก
ที่มาเลเซีย และ ฟิลิปินส์ ก็คล้ายๆบ้านเราแต่ถ้าจะให้ฟันธงเรื่องความอลังการแล้วละก้อ ผมว่าเราเหนือกว่า ระบบการประกวดที่มาเลเซียเขาจะตามระบบอังกฤษ(คล้ายอินเดียเรื่องการเก็บ CC จะแตกต่างก็คงเป็นยังมี Reserve BOB และมีการชิง Group ก่อนชิง BIS และยอมให้ RBIG เข้าชิง RBIS) ส่วนที่ฟิลิปินส์ เขาตามระบบของ American Kennel Club ซึ่งพวกเราก็รู้ๆกันเป็นอย่างดีแล้ว คงไม่ต้องอธิบายอีก เรื่องคุณภาพสุนัข ผมว่าของเราเหนือกว่าแต่ไม่ทุกพันธุ์ การรับรองขึ้นอยู่กับฐานะของ Club
ที่ญี่ปุ่นมีการแบ่ง Group ตาม FCI คือมี 10 group แต่การประกวดเขาจะคัดสุนัขเพศผู้ที่ชนะเลิศประจำสายพันธุ์ทุกพันธุ์เข้ามาชิงตำแหน่ง Best King และ Reserve อีก 2 ตัว และสุนัขเพศเมียที่ชนะเลิศประจำสายพันธุ์ทุกพันธุ์เข้ามาชิงตำแหน่ง Best Queen และ Reserve อีก 2 ตัว โดยจะมีรางวัลให้ตั้งแต่รุ่น Baby King กับ Queen, Puppy King กับ Queen และ Adult King กับ Queen และขั้นตอนสุดท้ายจะคัด Best King กับ Best Queen มาชิง Best in Show
ซึ่งในรอบ Best in Show ก็จะมีสุนัขเข้าประกวด Best King หรือ Queen ประมาณอย่างละ 50 ตัว(breed)ขึ้นไป โดยคัดออกมาในรอบแรก 13 ตัว หลังจากนั้นคัดออก 5 ตัวให้เหลือ 8 ตัวซึ่งจะได้รางวัลทุกตัว แต่จะมี 3 ตัวเท่านั้นที่จะได้ตำแหน่ง Best King หรือ Queen กับ 2 Reserve
. เรื่องคุณภาพสุนัขที่นี่คงไม่ต้องพูดถึง เรายังเป็นรอง เรื่องการจัดการงานประกวดถือว่าไม่แพ้ใครในปฐพี เรื่องการรับรองอบอุ่น แต่อากาศไม่ค่อยอบอุ่น(...หนาว
)
จากการที่ได้ประสพการณ์เหล่านี้มา ผมว่า เมืองไทยเราดีในเรื่องการจัดการ การรับรองกรรมการ แต่คุณภาพกรรมการที่มาตัดสินยังทำให้ผลการประกวดไม่ค่อยแน่นอน มีการพลิกล็อคจนน่าแปลกใจ เพราะกรรมการบางท่านคุณภาพยังไม่ถึง อาจเป็นด้วยเหตุผลที่ว่าปีหนึ่งๆ เรามีงานประกวดมากเหลือเกินจนทำให้กรรมการดีๆหายากขึ้น และมีงานประกวดมากจนทำให้เมืองไทยมีสุนัขที่ได้ Best in Show มากมายจนไม่อาจจะแยกแยะได้ว่า อะไรคือดีที่สุด ผมเกรงว่าต่อไปจะเป็นการเน้นเพิ่มปริมาณมากกว่าเน้นเพิ่มคุณภาพ
สุดท้ายนี้ ผมขอฝากข้อคิดไว้ว่า คุณภาพจะต้องเริ่มต้นที่ Breeder ก่อนที่จะเป็น Exhibitor แล้วจึงจะตามมาด้วยการเป็น Judge ..การประกวดสุนัขคือกีฬาไม่ใช่สงคราม ต้องรู้จักระงับโทสะ รู้จักให้อภัย อย่างมัวหลงงมงายกับรางวัลที่ได้จากการวัดใจกรรมการ รางวัลที่แท้จริงก็คือสุนัขของคุณเองนั่นแหละ สุนัขที่แพ้หรือชนะประกวดก็ซื่อสัตย์รักเจ้าของไม่แตกต่างกัน
.สวัสดี
http://www.kcthailand.com/knowledge/show_udge_expr.shtml
โดย Thana Achariyawan
|
|
. (203.146.219.*) [ วันพุธ ที่ 30 มิถุนายน 2547 เวลา 18:32 น. ] |
| |