ขอแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาสุนัขไทยบางแก้วให้สู่สากลด้วยสักคนนะครับ ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำตัวเองก่อนนะครับ ผมเป็นนายทะเบียนของสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (ประเทศไทย) มีหน้าที่พิจารณาการรับจดทะเบียนสุนัขพันธุ์แท้ทุกสายพันธุที่ขอจดทะเบียนต่อสมาคมฯ ผมเป็นคนจังหวัดพิษณุโลก ได้คลุกคลีกับบางแก้วมาบ้างพอสมควร และที่บ้านในตอนนี้ก็เลี้ยงสุนัขบางแก้วไว้ แต่ไม่รู้ว่าจะทะให้บางแก้วเสียชื่อเสียงหรือเปล่าไม่รู้นะครับ เพราะนิสัยเหมือนสุนับโกลเด้นท์เลย (ชอบต้อนรับแขก)
ขณะนี้ทางสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข(ประเทศไทย) ยังรับจดทะเบียนสุนัขไทยบางแก้ว แบบ No reccord เพียงสายพันธุ์เดียว เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รักสุนัขไทยบางแก้วให้พัฒนาไปสู่สากล โดยตั้งความหวังไว้ว่าประมาณปลายปี พ.ศ.2546 จะขอยื่ยจดทะเบียนสายพันธุ์ต่อสมาพันธ์สุนัขเอเชี่ยน [ AKU.] ในปลายปี 2547 จะขอยื่นจดทะเบียนชั่วคราวต่อสมาพันธ์สุนัขโลก [ FCI.} แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้รักบางแก้วทั้งหลายด้วย คือการนำสุนัขไทยบางแก้วไปจดทะเบียนต่อสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (ประเทศไทย) ให้มากที่สุด ที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าคนไทยให้ความนิยมในสุนัขไทยบางแก้ว
สำหรับการพัฒนาสายพันธุ์นั้น ผมขอออกความเห็นในภูมิปัญญาที่มีเพียงน้อยนิดเพื่อเป็นส่วนร่วมในการผลักดัน
ประการแรก คือ ให้ลบคำว่าสุนัขไทยบางแก้วดุให้ได้
ประการที่ 2 เน้นเอกลักษณ์เฉพาะของสุนัขบางแก้วให้เหก็นเด่นชัดมากขึ้น คือ ขนยาวที่กกหู , ขนยาวที่แผงหลัง , ขนแข็งสิงห์ หากเอกลักษณ์เหล่านี้ไม่เด่นก็จะทำให้สุนัขไทยบางแก้วไม่แตกต่างกับสุนัขในกลุ่มสปิทซ์ในต่างประเทศที่ได้ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ยกตัวอย่าง ที่สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน ได้รับการจดทะเบียนก็เพราะความเด่นที่อานกลางแผ่นหลัง ดังนั้น ผุ้รักบางแก้วทั้งหลายต้องพยายามพัฒนาเอกลักษณ์ 3 อย่างของสุนัขไทยบางแก้วให้เด่นชัดมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ประการที่ 3 มาตรฐานพันธุ์ต้องเป้นไปตามหลักสากล ต้องกำหนดอัตราส่วนที่สำคัญไว้ เข่น ความยาวของลำตัว : ความสูง = 10 : 10 , ความลึกของอก : ความสูงจากข้อศอกถึงพื้น = 5 : 5 , ความยาวของช่วงปาก : ความยาวของหัวกะโหลก = 3 : 3 เป็นต้น
ประการที่ 3 คือการพัฒนาโครงสร้าง สิ่งที่ต้องการให้พัฒนาเร็วที่สุดคือมุมขาหลัง คือ ตรงช่วงหัวเข่าขาหลังจะต้องให้มีความโค้งเล็กน้อยสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน หากเปรียบเทียบแล้วควรไปพิจารณาขางหลังของปอมเมอเรเนี่ยน ซึ่งเป็นสุนัขในกลุ่มสปิทซ์เช่นกัน
ขอแสดงความเห็นเพียงนี้ก่อนนะครับ
โดยคุณ ธนกฤต ปฏิญญาวัฒน์ (202.133.169.*) [ วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม 2546 เวลา 17:39 น. ] ผู้ตอบคนที่ 1
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยครับ
กรณีเรื่องมุมขาหลัง ผมเห็นสุนัขบางแก้วช่วงสองปีที่ผ่านมานี้มีมุมขาหลังมากขึ้นเมื่อเทียบกับสุนัขรุ่นเก่าๆส่วนใหญ่ (แต่แหม ผมอยากให้ได้เห็นรูปของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วที่เราถือกันว่าเป็นต้นแบบ เช่น หนึ่ง, บ๊อบบี้ จังเลย แล้วเราค่อยมาพูดกันว่าสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เราพัฒนาอะไรแค่ไหนอย่างไร) แต่ว่าถ้าลองสังเกตุดูนะครับจะพบลักษณะอื่นๆประกอบด้วย เช่น
เมื่อสุนัขเคลื่อนที่ออกจากเรา จะเห็นข้อขาหลัง (Back Pastern) ดีดสูงขึ้นมาจนดูไม่สบายตา
เส้นหลังไม่ค่อยอยากจะตรงเท่าไรนัก มักจะแอ่นเป็นส่วนใหญ่
ขาหลังค่อนข้างเคลื่อนที่แบบบิดเข้าด้านในลำตัว (Cow hock)
ผมไม่ได้มีเจตนาขัดขวางประเด็นเรื่องเพิ่มมุมขาหลัง (ซึ่งถ้าสุนัขมีมุมขาหลัง เวลา Stacking จะดูสง่างามมากขึ้นกว่าไม่มีมุมขาหลังหรือมีมุมขาหลังน้อย) แต่ว่าจะทักว่า ควรพิจารณาว่ามุมขาหลังที่ว่าควรเป็นมุมเท่าไร (เหมือนอย่างในสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพอด, โดเบอร์แมน ฯลฯเค้า) จึงจะเหมาะสมกับสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วของเรา อีกทั้งถ้าหากว่าเป็นไปตามข้อสังเกตุของผม ผมว่าให้มีมุมขาหลังน้อยแบบเดิมแต่ว่าไม่มีข้อเสียหายในประเด็นที่ผมตั้งข้อสังเกตุข้างต้นจะดีเสียกว่า
พสุธา พันธุ์สาย
โดยคุณ พสุธา พันธุ์สาย (202.183.175.*) [ วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม 2546 เวลา 16:06 น. ] ผู้ตอบคนที่ 6
จาก
http://www.hightidediving.com/webboard/view.php?No=27 |
โดยคุณ ว (210.86.162.*) [ วันเสาร์ ที่ 5 มิถุนายน 2547 เวลา 18:22 น. ] ผู้ตอบคนที่ 4 |
|
|