โรคพยาธิในเม็ดเลือดนั้นมีหลายชนิดในไทย และแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันออกไปทั้งลักาณะอาการ รอยโรค รูปแบบ pattern ของค่าเม็ดเลือดขาว เช่น หากเป็นพวก Babesia มักจะพบว่า ค่าเม็ดเลือดขาวสูง....หากเป็น E. Canis มักเม็ดเลือดขาวต่ำ แต่สิ่งหนึ่งที่พยาธิในเม็ดเลือดมีเหมือนๆกัน คือ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
ผมเลยเอาบทความเก่าที่ผมเคยเขียนไว้ในพันทิพย์ดอทคอม ซึ่งตอนนี้ผมไม่คบเวปที่ว่านี้แล้ว เหอะๆๆๆ ...เลยเอามาลงในเวปนี้แทน...จะได้เป็นประโยชน์กับผู้ที่มีปัญหาเรื่องนี้นะครับ
ปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้นทำให้การตรวจเลือดสัตว์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การตรวจนับจำนวน "เกล็ดเลือด" จึงมีความสำคัญและจำเป็นมากในการใช้วินิจฉัยโรคที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เช่น โรคพยาธิในเม็ดเลือด โรคที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดช้าหรือเลือดไหลแล้วหยุดยาก เป็นต้น
เกล็ดเลือดในสุนัขจะมีขนาดที่เล็กมาก มีหน้าที่คอยอุดช่องว่างที่มีเลือดไหลตามที่ต่างๆในร่างกาย ทั้งภายใน และภายนอกร่างกาย เกล็ดเลือดจะไปออตัวกันบริเวณบาดแผล และส่งต่อให้พวก Fibrinogen มาอุดรูอีกตัว (ผมขอเขียนง่ายๆนะ ไม่เอาลึกซึ้ง) ทำให้เลือดหยุดไหล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีปัจจัยอื่นๆร่วมกับเกล้ดเลือดสำหรับช่วยในเรื่องการหยุดไหล หรือการแข็งตัวของเลือดนะครับ
เกล็ดเลือดแมวปกติจะมีขนาดที่ใหญ่มาก จนบางคนที่ไม่ชิน หรือเครื่องตรวจเลือดที่ไม่ได้ทำมาเพื่อแมวก็อาจเข้าใจผิด หรือตรวจผิดได้คิดว่าเกล้ดเลือดแมวเป็นเซลล์เลือดชนิดอื่นๆ จึงไม่ควรใช้เครื่องตรวจเลือดของคนมาใช้วัดปริมาณเกล็ดเลือดในสัตว์เป็นอย่างยิ่ง...
ค่าปกติของเกล็ดเลือดในหมาอยู่ที่ 100,000-400,00 เซลล์ต่อไมโครลิตร บางตำราก็ 150,000-500,000 ก็ว่ากันไป...เอาเป็นว่าต่ำกว่า 1 แสน ก็น่าเป็นห่วง ต่ำกว่า 5 หมื่นระวังเลือดไหลไม่หยุด ไม่ควรผ่าตัดถ้าไม่จำเป็น
ค่าปกติของเกล็ดเลือดในแมวอยู่ที่ ตัวล่างไม่รู้ - 600,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร บางตำราให้ถึง 820,000 เลยทีเดียว
หากเป็นการตรวจด้วยมือนั้น หมอหรือนักวิทย์จะเอาเลือดไปใส่ในสไลด์ แล้วส่องดูในกล้องจุลทรรศน์ นับจำนวนเกล็ดเลือดที่พบว่ามีปริมาณเท่าใด โดยมากก็จะแสดงผลให้หมอแค่ "พอ" กับ "ไม่พอ" วึ่งมันกว้างมากกกกก...แล้วไม่พอนี่มันมีจำนวนเท่าไร (ฟะ)
การตรวจด้วยเครื่องตรวจเลือดโอกาสที่พบปัญหาแล้วหมอไม่รู้ก็มีมาก เช่น
เกล็ดเลือดไม่ได้น้อยจริงอย่างที่เครื่องบอก สาเหตุมาจาก เช่น เม็ดเลือดแดงของสัตว์มีขนาดที่เล็กมาก จนเครื่องมัน (ไม่ฉลาดพอ) แยกไม่ได้นึกว่าเจ้าเม็ดเลือดแดงเป็นเป็นเกล็ดเลือดบ้าง หรือเกล็ดเลือดมันเกาะตัวกัน จนมีขนาดใหญ่ เครื่องมันก็นึกว่าไม่ใช่เกล็ดเลือดเป็นต้นครับ
ดังนั้นในหลายๆครั้งที่เราพบว่าเกฃ็ดเลือดหมาเรามีขนาดน้อยกว่าปกตินั้น แนะนำให้ตรวจซ้ำแบบวิธีแมนนวลอีกทีครับ จะพบคำตอบที่แท้จริง
การตรวจเกล็ดเลือดทั่วไปมักใช้วิธที่เรียกว่า Impedance คือ มักวัดความต้านทาไฟฟ้า ผมขอใช้คำว่า PLT-I เป็นตัวย่อนะครับ การวัดแบบนี้เคยเป็นเรื่องทันสมัยมากในอดีตที่ผ่านมาแต่ตอนนี้เราพบว่ามักเกิดความคลาดเคลื่อนได้ง่าย หลายครั้งอาจตรวจได้หลักหมื่น แต่พอดูจริงๆแสนกว่า บางทีตรวจได้ 3 แสน ค่าจริงๆอยู่ที่ 5 แสน เป็นต้น
ปัจจุบันก็เลยพัฒนามาตตรวจด้วยวิธี ย้อมสี Fluorecent Optical คือการย้อมสีพิเศษที่ติดเฉพาะเกล็ดเลือดเท่านั้นและไปผ่านลำแสง optical เพื่อนับจำนวนก็จะได้ค่าที่แม่นยำกว่า
นอกจากเรื่อง PLT-O ที่ตรวจได้แม่นยำกว่า PLT-I แล้วนั้น สิ่งสำคัญในการอ่านแปลผลเกล็ดเลือดยังจำเป็นต้องดูด้วยว่าเกล็ดเลือดนั้นมีค่าความกว้างของกระจายตัวอย่างไร ปกติมันควรเท่าๆกัน หากมันรีบสร้างเกล้ดเลือดเร็วเกินไปหรือไม่ปกติมันก็จะพบว่ามีขนาดเดี๋ยวเล็ก เดี๋ยวใหญ่ หรือ ที่เราเรียกว่า PDW ย่อมาจาก Platelets Distribution Width
ในเมื่อเม็ดเลือดแดงมี ค่าฮีมาโตคลิต ดังนั้นเกล็ดเลือดก็ต้องมีเช่นกัน คือ Plateletcrit หรือที่เราเรียกว่า PCT ครับ คืออัตราส่วนร้อยละของเกล็ดเลือดต่อปริมาณเลือดทั้งหมด...อันนี้ก็สำคัญ แต่เครื่องทั่วไปมักไม่คำนวณให้ ตอนเรียนก็ไม่มีพูดเท่าไร แต่คิดจะรักษามันก็ต้องดู ต้องเข้าใจมันๆมีผลต่อการแปลผลเกล็ดเลือดว่าดี ไม่ดี
ในเครื่องตรวจที่ดีๆนั้นค่าอื่นของเกล็ดเลือดยังมีอีก เช่น P-LCR หรือ ค่าเกล็ดเลือดที่มีขนาดใหญ่เทียบเป็น ร้อยละต่อเกล็ดเลือดทั้งหมด
ค่า MPW หรือ Mean Platelet Volume คือ ปริมาณเกล็ดเลือดเฉลี่ยโดยรวมว่ามีเท่าไร
ทั้งหมดนี้จึงเป็นค่าสำคัญทั้งหมดที่มีผล และความจำเป็นที่ต้องเข้าใจ และต้องดูว่าเกล็ดเลือดในสัตว์ที่เราดูอยู่นั้นเขาเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดี...ไม่ดีตรงไหนจะได้แก้ทัน หรือเขาตอบสนองต่อการรักษาไหม
ปกติเกล็ดเลือดใช้เวลาสร้างไม่นาน 3-4 วันเอง ดังนั้นหากรักษาถูกทางก็จะทำให้ค่านี้ขึ้นได้ค่อนข้างไว