ตอบ: ขอความรู้ครับ
โดย ป้าวิ เมืองสิงห์ - Wednesday, 4 February 2009, 10:57AM
 

การป้องกันโรคเหงาในสุนัข
--------------------------------------------------------------------------------

( สนับสนุนข้อมูลโดย น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร ผ.อ. โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น.พี. )


......สุนัขของคุณชอบเห่า ปัสสาวะเรี่ยราด หรือชอบทำลายข้าวของบ้างหรือเปล่า ถ้าเป็น   อาจจะแสดงว่าสุนัขของคุณเป็นโรคเหงา

สุนัขเป็นสัตว์สังคม สุนัขป่าก็ยังอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สุนัขบ้านจะถือว่าสมาชิกในครอบครัวคือฝูงของมันเช่นเดียวกัน สุนัขที่สนิทกับเจ้าของหรือสมาชิกในครอบครัวมากๆ จะเกิดอาการเครียด และเหงา   เมื่อถูกปล่อยให้อยู่เพียงลำพัง โดยแสดงออกด้วยการ เห่า ขุด กัดแทะ และพยายามทำลายข้าวของในบ้าน


......การที่สุนัขเห่า กัดทำลายของ หรือ ขุดคุ้นทำลายสวนสวยของคุณ ไม่ได้เป็นอาการของโรคเหงาเพียงอย่างเดียว อาจจะมีอย่างอื่น เช่น คันฟัน ปวดฟัน ฯลฯ ซึ่งต้องให้สัตวแพทย์ตรวจดูว่าไม่ได้มีสาเหตุจากโรคเหล่านี้ก่อน

สุนัขที่เป็นโรคเหงา   มักจะแสดงอาการเมื่อเจ้าของไม่อยู่ด้วย หรือเห็นเจ้าของแต่เจ้าของไม่มาหา    สัตว์ก็จะแสดงอาการกระวนกระวาย เช่น เวลาถูกล่ามโซ่ .......

การฝึก....เพื่อ...

- ลดความต้องการอยู่ใกล้ชิดเจ้าของของสุนัข
- เพิ่มความมั่นใจให้กับสุนัข

สุนัขที่มีความมั่นใจในตัวเองจะไม่กังวลกับการที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน หรือถูกทิ้งไว้เพียงลำพัง และจะไม่ทำลายข้าวของของคุณ ....แต่ไม่ได้หมายความว่าสุนัขจะเฉยหรือเย็นชาเมื่อเห็นคุณ เพียงแต่สุนัขเกิดความมั่นใจ   ว่าคุณจะไม่ได้ทิ้งเขาไปเฉยๆ โดยไม่กลับมา ดังนั้นคุณต้องให้สุนัขมั่นใจว่าทุกครั้งที่คุณออกจากบ้านไปคุณจะกลับมาหาเขาทุกครั้ง

ขั้นแรก ลดอาการดีใจหรือเสียใจสุดเหวี่ยง เมื่อเวลาที่คุณเข้าหรือออกจากบ้าน
....... การลดความเครียดของสุนัขในเรื่องนี้ทำโดย    อย่าทำให้สุนัขตื่นเต้น  เวลาเจ้าของ เข้าหรือออก จากบ้าน โดยทำทีไม่สนใจตัวสุนัขสัก 5 นาที ขณะที่คุณเตรียมเก็บเอกสารหรือข้าวของ เช่นกุญแจ เสื้อคลุม ฯลฯ ทำอย่างปกติเรียบๆ .......แล้วเดินออกจากบ้านไปอย่างปกติธรรมดา อย่ากล่าวคำสั่งเสียกับสุนัข เช่น ดูแลบ้านให้ดีนะ อย่ากัดทำลายของ ฯลฯ เพราะจะไปกระตุ้นให้สุนัขเกิดความตื่นตัว ก่อนที่เราจะออกจากบ้าน ..........การที่ทำทีไม่สนใจสุนัข     เขาจะเข้าใจว่าคุณอยู่บ้านในที่ใดสักแห่งที่เขาไม่เห็น

เวลากลับเข้าบ้านก็เช่นเดียวกัน ทำเป็นไม่เห็นสุนัขของคุณสัก 5 นาที ขณะเดียวกันคุณก็วางข้าวของของคุณตามปกติ อย่าพูดกับสุนัขยกเว้นดุให้เขาสงบลง สำหรับสุนัขที่ควบคุมยาก   ให้ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง อย่าทักทายสุนัขจนกว่าสุนัขจะสงบลง ........ แต่อย่าทำให้สุนัขตื่นเต้นดีใจอีก

ข้อควรระวังคือ ห้ามลงโทษสุนัขเมื่อกลับเข้ามาในบ้าน ไม่ว่าสุนัขของคุณจะทำลายข้าวของเสียหายขนาดไหนก็ตาม เพราะสุนัขอาจจะคิดว่าคุณทำโทษเขาเพราะเขาอยู่เพียงลำพัง ซึ่งจะยิ่งทำให้แย่ลงไปอีก ถ้าสุนัขเคยฝึกให้อยู่ในที่เฉพาะก็จะยิ่งง่าย

ขั้นที่ 2 จำกัดบริเวณสุนัข
วัตถุประสงค์เพื่อลดการทำลายข้าวของในบ้านให้น้อยลง ถ้าเจ้าของทำได้ควรจำกัดบริเวณที่สุนัขอยู่ให้แคบลง เพื่อลดการทำลายข้าวของ

ขั้นที่ 3 หาอะไรให้สุนัขทำ
อย่างเช่นหาของเล่นพวกของแทะหรือกระดูกเทียมหรือสิ่งที่สุนัขชอบ ......สุนัขก็จะไม่มีเวลาไปทำลายข้าวของในบ้าน ....เจ้าของต้องพยายามล่อใจให้สุนัขสาละวนกับของที่ให้ไว้ก่อนออกจากบ้าน

ขั้นที่ 4  ภาวะที่สุนัขจะยอมรับเมื่อเจ้าของออกจากบ้าน
ขั้นนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุด และต้องใช้ระยะเวลานานที่สุด  ...... สุนัขที่เป็นโรคเหงาจะเริ่มแสดงอาการเมื่อเจ้าของก้าวไปที่ประตูบ้าน......... เจ้าของต้องรอจนกว่าสุนัขจะคลายความตื่นเต้นหรือกังวลลง....... เมื่อสุนัขผ่อนคลายความกังวลลง  ให้ขนมหรือของที่สุนัขชอบ ทำซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อให้สุนัขไม่แสดงอาการกังวล

ขั้นต่อไปคือ  ทำท่าทางเก็บข้าวของออกจากบ้านเดินตรงไปที่ประตู   แล้วเปิดประตูแต่อย่าก้าวเดินออกไปเป็นอันขาด แค่เดินไปเปิดแล้วปิด ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งจนสุนัขรู้สึกชินและเฉยจึงให้รางวัลล่อใจ ขั้นตอนต่างๆ ที่ทำซ้ำควรเว้นระยะห่างประมาณ 5-10 นาที ขั้นต่อไปคือทำท่าเก็บข้าวของออกจากบ้านเดินไปที่ประตู เปิดประตูแล้วเดินออกไปแต่อย่าปิดประตู ทำซ้ำเช่นเดิมจนสุนัขชินจึงให้รางวัล

ขั้นต่อมา  คือทำท่าเหมือนจะออกจากบ้านแล้วเดินไปที่ประตูเปิดแล้วเดินออกจากประตูพร้อมกับปิดประตู แต่ท่านเจ้าของต้องรีบเข้ามาถ้าสุนัขเริ่มมีความระแวง ถ้าสุนัขเฉยท่านรอสัก 30 วินาทีค่อยเดินเข้าประตูมา เจ้าของสุนัขต้องทำเช่นที่กล่าวซ้ำๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาที่อยู่นอกประตูให้นานขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าสุนัขจะชิน เช่นเพิ่มเวลาจาก 30 วินาทีเป็น 1 นาที, 2 นาที, 5 นาที, 10 นาที, 20 นาที, เพิ่มไปเรื่อยๆ จนเป็นชั่วโมง สุนัขแต่ละตัวอาจต้องการเวลาในการฝึกแตกต่างกัน เมื่อเพิ่มเวลาอยู่นอกบ้านของเจ้าของได้เป็นชั่วโมงก็ง่ายที่จะเพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ จนถึง 7-8 ชั่วโมง

สุนัขจะกังวลมากเมื่อถูกทิ้งไว้ตัวเดียว โดยแสดงอาการต่างๆ เช่น ครางหงิ๋ง ๆ , เห่า, ขุด, แทะ, หอน, ปัสสาวะเรี่ยราด, วิ่งวนไปรอบๆ , พยายามหลบหนีออกนอกกรงหรือบ้าน

สุนัขที่ขี้เหงามักจะอ้อนเจ้าของค่อนข้างมาก และต้องการเวลาทักทายกับเจ้าของเวลาพบเจ้าของหลังเวลาเลิกงานนานกว่าสุนัขปกติ สุนัขพวกนี้มักเดินตามเจ้าของไปรอบบ้าน กระโดดหรือเข้ามาคลอเคลีย เห่า ครางหงิ๋ง หรือเลียมือและหน้าเจ้าของเป็นเวลานาน ๆ


สิ่งสำคัญในการฝึก
*สุนัขเป็นสัตว์สังคม และเป็นเรื่องปกติที่สุนัขจะคิดถึงเจ้าของเมื่อเวลาเจ้าของไม่อยู่
*อย่าให้สุนัขตื่นเต้นเวลาคุณออกจากบ้าน
*ฝึกให้สุนัขสงบเมื่อเวลาคุณกลับเข้าบ้าน
*จำกัดบริเวณสุนัขตลอดช่วงระยะเวลาการฝึก
*ให้ของที่สุนัขกัดแทะได้เพื่อไม่ให้มีเวลาไปทำลายข้าวของ
*หาอะไรให้สุนัขทำเวลาอยู่ตัวเดียว

ให้ทำตามขั้นตอนทั้ง 4 ที่กล่าวมามักได้ผลดี
อาจต้องพึ่งยาในรายที่ไม่สามารถฝึกให้คุ้นกับการอยู่ตัวเดียวได้

เอกสารอ้างอิง
Campbell WE: Behavior problems in dogs, 1992, American Veterinary Pubs. Goleta, CA.
o Hart BL; Hart LA: Canine and feline behavioral therapy, 1985, Lea & Febiger. Philadelphia, PA.

น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร
ผ.อ. โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น.พี.


ข้อมูลจาก..... http://www.bangkaew.com/elearning2/mod/forum/discuss.php?d=4837

คัดมาแปะให้อ่าน เพราะเห็นว่ามีลักษณะปัญหาใกล้เคียงกัน อาจจะนำไปปรับใช้ได้


Bangkaew.net and Bangkaew.org are for sale
See details at https://sedo.com/search/?keyword=bangkaew